วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เผยแพร่ผงลานทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนานาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล เพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรี




ชื่อเรื่อง      การพัฒนานาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล เพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรี


                  รีคอร์เดอร์ โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิค e-Learning สำหรับนักเรียน


      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


 

ชื่อผู้วิจัย   นายอิสรินทร์ ทาส่วย

กลุ่มสาระการเรียนรู้   ศิลปะ

 บทคัดย่อ

 

            ในการวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากลเพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรี รีคอร์เดอร์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2556  จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 69 คน  ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น  โดยเริ่มทำการวิจัยตั้งแต่เดือน พฤษภาคม -  เดือน กรกฎาคม
ผลการวิจัย  พบว่านักเรียนจำนวนหนึ่งมีการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากลดีขึ้นกว่าเดิม  ด้วยวิธีการให้แรงเสริมโดยการชมเชยและให้ระยะเวลาในการฝึกทักษะการอ่านโน้ตสากลมากพอสมควร  ดังนั้น  ก่อนที่จะเกิดทักษะการอ่านให้นักเรียนได้ฝึกการเขียนโน้ตสากลก่อน  โดยจะนำมาซึ่งการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากลได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้องรวมทั้งส่งผลมาถึงการปฏิบัติเครื่องดนตรี รีคอร์เดอร์ ด้วยความเข้าใจและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะพื้นฐาน(ดนตรี) ในระดับมัธยมศึกษา ยังขาดสื่อ
 การสอนที่เป็นแบบฝึกทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรีที่พอเพียงและหลากหลาย การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์(Recorder) มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้รับการฝึกฝนจากผู้สอนและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ
1.)การพัฒนานาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล เพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรี รีคอร์เดอร์

2.) พัฒนาแบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80    

3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และ ก่อนเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์(Recorder) 

4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์(Recorder)  ที่สร้างขึ้น  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล อำเภอเขาสวนกวาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ขอนแก่น   ภาคเรียนที 1  ปีการศึกษา 2556 จำนวน 69  คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  มี  5  ชนิด  ดังนี้  

1.) แบบฝึกการอ่านและการเขียนโน้ตสากล

2) แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์  (Recorder) สาระดนตรี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 

2)  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์

4)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 

5 ) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 คำนำ

 

 

            งานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1    ในรายวิชาดนตรีสากล  ได้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากลให้กับนักเรียน  ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  การวิจัยเรื่องนี้  จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษา  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทางด้านการเรียน  การสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

                                                                                   

                                                                                นายอิสรินทร์  ทาส่วย

                                                                                              ผู้วิจัย

 

 
สารบัญ

 

                                                                                                                                                หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                                3

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                       7

ความสำคัญและที่มา                                                                           7

จุดมุ่งหมาย                                                                                           7

ตัวแปรที่ศึกษา                                                                                      7

กรอบแนวคิดในการวิจัย                                                                   

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                               8

ขอบเขตของการวิจัย

                บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                            10

 

บทที่ 3  วิธีดำเนินการวิจัย                                                                 13

กำหนดตารางทำการวิจัย                                                                    17

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                          26

 

บทที่ 5 สรุปผล                                                                                                    32

ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย

 

ภาคผนวก                                                                                             33

 

 

 

 


 

 

 

บทที่ 1 บทนำ


การวิจัยในชั้นเรียน


 1.  เรื่อง  การพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล เพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรี

                  รีคอร์เดอร์ โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิค e-Learning ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


 2.  ความสำคัญและที่มา

            ในการพัฒนาทางด้านวิชาดนตรี  พื้นฐานที่สำคัญที่ส่งผลในด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรี  คือการพัฒนาในด้านทักษะการอ่านโน้ตสากล

ในการสอนที่ผ่านมาพบว่า  นักเรียนในบางส่วน  ยังขาดทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล  จึงส่งผลมาให้ต้องมีการปรับปรุง  และต้องมีการพัฒนาในทักษะนี้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรี

และจากการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จากจำนวน 69  คน 

มีนักเรียนที่มีปัญหาในด้านทักษะการอ่านโน้ตสากลอยู่มาก 

ดังนั้น  ผู้ที่ทำการวิจัย  จึงหาวิธีการที่จะดำเนินการเพื่อที่จะไขแก้ปัญหา  และพัฒนาให้

นักเรียนได้เกิดทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากลให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นในการพัฒนาในครั้งนี้  จะใช้วิธีการประเมินนักเรียนควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน

 3.  จุดมุ่งหมาย

            1.เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ศิลปะ (ดนตรีศึกษา)

2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ด้วยวิธีการประเมินโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 4.  ตัวแปรที่ศึกษา

            ตัวแปรต้น       1.  กิจกรรมการเรียนการสอน โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิค e-Learning

                                    2.  วิธีการประเมินที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

2.1        การทดสอบทักษะในด้านการเขียน อ่านโน้ตสากล  การปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์  และข้อเสนอแนะ

 ตัวแปรตาม      1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียน

                                    2.  ทักษะในด้านการเขียน อ่านโน้ตสากล  และการปฏิบัติเครื่องดนตรี

รีคอร์เดอร์

 

 

 

5.  กรอบแนวคิดในการวิจัย

Oval: วิธีการสอนตามปกติ  และวิธีประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  

6.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

            ผลการวิจัยนี้  จะเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน

โน้ตสากลด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการฝึกทักษะการเขียนและการอ่านที่มีระดับเสียงที่แตกต่างกันและให้นักเรียนได้ฝึกอ่านโน้ตสากลทุกๆ 15 นาทีก่อนเรียน  เพื่อที่จะให้การเรียนการสอนวิชาดนตรีสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น

 

7.  ขอบเขตของการวิจัย

            1.  กลุ่มที่ศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวนนักเรียนที่ศึกษา  69  คน  ของโรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล  ในภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2556  ในการทำวิจัยครั้งนี้  เลือกนักเรียนที่ศึกษาในชั้นเรียน  35  คน  ได้เลือกนักเรียนกลุ่มนี้เนื่องจากนักเรียนมีทักษะพื้นฐานในด้านการอ่านโน้ตสากลไม่คล่องแคล่ว  จึงเป็นปัญหาในด้านการเรียนการปฏิบัติเครื่องดนตรี

รีคอร์เดอร์ 

            2.  การสอนดนตรี หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้วิจัยได้สอนตามปกติ  โดยมีเทคนิคการสอนแบบใหม่ๆ  โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            3.  วิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียน  เป็นสำคัญที่ผู้วิจัยได้ใช้ควบคู่กับการเรียนการสอน  เพื่อจะได้ข้อมูลจากตัวนักเรียนและนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด  โดยมีวิธีการที่ใช้ดังต่อไปนี้ คือ  โดยการสังเกตการสอนของครู  สนทนา  ซักถามนักเรียน  การสังเกตการการเรียน  การฝึกอ่านโน้ตการฝึกการเขียน  และฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

            4.  พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน  หมายถึง  พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก  ในการเรียนดนตรีอย่างมีความสุข  สนุกสนาน

            5.  ทักษะการเรียนในวิชาดนตรี  หมายถึง  ความสามารถของนักเรียนในการเรียนวิชาดนตรี  เกี่ยวกับการเขียน  การอ่านโน้ตสากลและการปฏิบัติเครื่อง  โดยมีเกณฑ์ผ่านร้อยละ  80  ขึ้นไป  โดยการทดสอบเก็บคะแนนจากการเขียน และการอ่านโน้ตสากล การปฏิบัติเครื่องดนตรี

รีคอร์เดอร์

 
บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

การศึกษาความพึงพอใจในการใช้ห้องเรียนดนตรี สากล สาระการเรียนรูศิลปะ (วิชาดนตรี) ของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและงานวิจัย ที่

เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ

1.1 เอกสารที่ เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ

1.2 เอกสารที่ เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการเรียนและทฤษฏีที่ เกี่ยวข้อง

2. เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการสอนดนตรีสากล

2.1 เอกสารที่ เกี่ยวข้องกับการสอนดนตรีสากล

1. เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ

1.1 เอกสารที่ เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ

กาญจนา ภาสุรพันธ์(2531:5) กล่าวว่า  ความพึงพอใจ หมายถึง  ระดับความรู้สึกหรือความนึกคิด

ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ ได้รับความคาดหวังหรือมากกว่าที่ คาดหวัง

สุเทพ เมฆ(2531:39) กล่าวว่า  ความพึงพอใจในบรรยากาศการเรียนการสอน หมายถึง  ความรู้สึก

พอใจในสภาพการจัดองค์ประกอบที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งมีความสําคัญในการช่วยให้นักเรียน

เกิดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา มีความเจริญงอกงาม มีความกระตือรือร้นเพื่อจะเรียนให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง

มอร์ส (Morse. 1955:27) ให้ ความเห็นว่า  ความพึงพอใจ หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ สามารถลด

ความเครียดของบุคคลให้น้อยลง ถ้ามีความเครียดมากจะทําให้ เกิดความไม่พึงพอใจในการทํากิจกรรม

วอลเลอร์สเตน(Wallerstain. 1971:256) ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า  ความพึงพอใจ

หมายถึง  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสําเร็จตามความมุ่งหมาย  และอธิบายให้เห็นว่าความพึงพอใจ เป็น

กระบวนการทางจิตวิทยาไม่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่สามารถคาดคะเนว่ามีหรือไม่มี จากการสังเกตพฤติกรรมของคนเท่านั้น  การที่จะทําให้คนเกิดความพึงพอใจจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบที่ เป็นสาเหตุแห่งความพึงพอใจนั้น

กู๊ด(Good. 1973:320) ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจ หมายถึง  คุณภาพหรือ

ระดับความพึงพอใจซึ่งเป็นผลจากความสนใจต่างๆและทัศนคติของบุคคลต้อกิจกรรม

จากความหมายต่างๆข้างต้น  สรุปได้ว่า  ความพึงพอใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก  และทัศนคติของบุคคลอันเนื่องมาจากสิ่งเร้าและแรงจูงใจซึ่งปรากฏออกมาทางพฤติกรรมและเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการทํากิจกรรมต่างๆของบุคคล

1.2 เอกสารที่ เกี่ยวข้องความพึงพอใจในการเรียนและทฤษฏีที่ เกี่ยวข้อง

ในการจัดการเรียนการสอน การทําให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการเรียนจึงเป็นองค์ประกอบ

สําคัญที่ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่  สมบูรณ์ พรรณนาภพและชัยโรจน์ ชัยคําอิน

(2518:416) กล่าวว่า  การที่บุคคลจะเรียนรู้ หรือมีพัฒนาการและความเจริญงอกงามนั้น  บุคคลจะต้องอยู่ ในสภาวะพึงพอใจ สุขใจ เป็นเบื้องต้น  นั่นคือ บุคคลจะต้องได้รับการจูงใจทั้งในลักษณะนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของบราวน์ และโฮลท์ซแมน(ประพัฒน์ จําปาไทย. 2524: 4;อ้างอิงมาจากBrown and Holtzman.1955:75-84) สรุปว่า  นักศึกษาที่มี สติปัญญาเท่ากัน  ถ้ามีแรงจูงในการเรียนต่างกันจะมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนต่างกัน  ซึ่งตรงกับความคิดเห็นของ ฮิลล์(ประภา ตุลานนท์. 2540:23 อ้างถึงเผื่อนพันธ์ โกกนก.2514:2;อ้างอิงมาจากHill.n.d.) ที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิ์ ภาพที่สุดเมื่อผู้เรียนได้รับการจูงใจ กล่าวสรุปได้ว่าแรงจูงใจเป็นหัวใจสําคัญของการเรียนรู้  เพราะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการสอนสูงมาก ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนดนตรีสากล ครูผู้ สอนจะต้องพยายามสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ มีความสนใจต่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ เพราะว่าการเรียนการสอนจะประสบความสําเร็จได้ก็ เพราะครูผู้สอนให้ความสําคัญ และความพยายามของผู้เรียนด้วยวิธีสร้างความพึงพอใจในการเรียนมีการศึกษาในด้านความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและผลระหว่างสภาพทางจิตใจกับผลการเรียนจุดที่น่าสนใจจุดหนึ่ง  คือการสร้างความพึงพอใจการเรียนให้แกเด็กทุกคนซึ่งในที่นี้มีผู้ให้แนวคิดไว้หลายท่านดังนี้

 
สกินเนอร์(วันทยา วงศ์ศิ ลปะภิรมย์.2533:9 อ้างอิงจาก Skinner.1971:1-63,96-120 ) มีความเห็นว่า

การปรับพฤติกรรมของคนไม่อาจทําได้โดยเทคโนโลยีทางกายภาพและชีวภาพ(Physical and Biological Technology) เท่านั้นแต่ต้องอาศัยเทคโนโลยีของพฤติกรรม ซึ่งเขาหมายถึงเสรีภาพ ลดความภาคภูมิ

(Freedom and Dignity) จุดหมายปลายทางที่แท้จริงของการศึกษา คือ การทําให้คนมีความเป็นตัวของตนเอง

(Autonomous Man) มีความรับผิดชอบต่อการกระทําของตน เสรีภาพและความภาคภูมิ เป็นครรลองของการไปสู่ ความเป็นคนดังกล่าวนั้นเสรีภาพมีความหมายตรงข้ามกับการควบคุม แต่เสรีภาพในความหมายของสกินเนอร์ไม่ได้หมายถึงไม่ได้เป็นอิสระจากความควบคุมบางชนิดที่มีลักษณะแข็งกร้าว(Aversive) คือ ไม่ได้หมายถึงการทําลายหรือหนีจากสิ่งแวดล้อม แต่เป็นการวิเคราะห์และเปลี่ยนหรือปรับรูปแบบใหม่(Redesign) ให้สิ่งแวดล้อมนั้น

โดยทําให้อํานาจการควบคุมอ่อนตัวลงจนบุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนไม่ได้ถูกควบคุมอ่อนตัวลงจนบุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนไม่ได้ถูกควบคุมหรือต้องแสดงพฤติกรรมใดๆที่ เนื่องมาจากความกดดันภายนอกบางอย่างบุคคลควรได้รับการยกย่องยอมรับความเป็นภาคภูมิแต่การกระทําที่ได้รับการยกย่องยอมรับมากเท่าไหร่จะต้องได้รับการกระทําที่ ปลอดจากการบังคับ(Force) หรือสิ่งควบคุมใดๆมากเท่านั้น  นั่นคือ  สัดส่วนปริมาณของการยกย่องยอมรับที่ ให้แก่การกระทํา  จะเป็นส่วนกลับความเด็นหรือความสําคัญหรือสาเหตุที่จูงใจให้เขากระทําแนวคิดของสกินเนอร์สรุปได้ว่า เสรีภาพนําบุคคลไปสู่ความภาคภูมิ และความภาคภูมินําไปสู่ ความเป็นตัวของตัวเอง มีผู้มีความรับผิดชอบต่อการคิด  ตัดสินใจการกระทําและผลที่ เกิดขึ้นจากการกระทําของ

ตนเองและนั่นคือเป้าหมายปลายทางที่แท้จริงของการศึกษาสิ่งที่ สกินเนอร์ต้องการเน้นคือ  การปรับแก้พฤติกรรมของคนต้องแก้ด้วยเทคโนโลยีของพฤติกรรมเท่านั้นจึงจะสําเร็จ  ส่วนการใช้เทคโนโลยีของการพฤติกรรมนี้กับใคร อย่างไร  ด้วยวิธี ไหน ถือเป็นเรื่องของการตัดสินใจ ใช้ศาสตร์ซึ่งต้องอาศัยภูมิปัญญา(Wisdom) ของผู้ ใช้เท่านั้น

2. เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการสอนดนตรีสากล

2.1 เอกสารที่ เกี่ยวข้องกับการสอนดนตรีสากล

มานพ วิสุทธิแพทย์(2548:99) ได้ให้ความหมาย ไว้ว่า ดนตรีสากล หมายถึง  ดนตรี

ประเทศต่างๆซึ่งเป็นผลงานประพันธ์เพลงทั้งเพลงบรรเลงและเพลงร้องประเภทต่างๆที่ สร้างสรรค์จากภูมิ

ปัญญาของคนและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

           

1.  การกำหนดระยะเวลาทำการวิจัย  ระยะเวลาที่ทำการวิจัยทั้งหมด  10  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  2  ครั้ง  รวมทั้งหมด  20  ครั้ง  โดยผู้วิจัยกำหนดให้นักเรียนเขียนโน้ตสากล  และอ่านโน้ตสากลตามแบฝึกหัดที่กำหนดให้  ในแต่ละครั้ง  ครูก็จะบันทึกหลังการปฏิบัติของนักเรียน 

ลงในตารางบันทึกเพื่อความก้าวหน้าของตัวนักเรียน

กำหนดตารางทำการวิจัย


            ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามแผนการสอนตามปกติ  โดยครอบคลุมเนื้อหาในการเขียนโน้ตสากล  และอ่านโน้ตสากล โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิค e-Learning รวมถึงการปฏิบัติเครื่องดนตรี รีคอร์เดอร์  ทุกชั่วโมงก่อนเรียนปฏิบัติเครื่องดนตรีในภาคเรียนที่  1  โดยดำเนินการสอนในตาราง  ดังนี้

 

บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
ก่อนเรียน
หลังเรียน
1
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  โด นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรี
รีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  เร นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  มี นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
2
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ฟา นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
 
ก่อนเรียน
หลังเรียน
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ซอล นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ลา นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ที นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
 
ก่อนเรียน
หลังเรียน
 
3
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์ตัวหยุด 4 จังหวะพร้อมทั้งฝึกอ่านโน้ตที่มีตัวหยุด4  จังหวะนักเรียนทั้งหมดอ่านได้แต่ยังอ่านยังไม่คล่องเท่าที่ควร
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์ตัวหยุด 2 จังหวะพร้อมทั้งฝึกอ่านโน้ตที่มีตัวหยุด2  จังหวะนักเรียนทั้งหมดอ่านได้แต่ยังอ่านยังไม่คล่องเท่าที่ควร
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์ตัวหยุด 1 จังหวะพร้อมทั้งฝึกอ่านโน้ตที่มีตัวหยุด1  จังหวะนักเรียนทั้งหมดอ่านได้แต่ยังอ่านยังไม่คล่องเท่าที่ควร
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
 
บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
 
ก่อนเรียน
หลังเรียน
 
4-6
ครูให้นักเรียนฝึกอ่านโน้ตสากล และฝึกปฏิบัติเครื่องตาม
             บทเพลง
แมงมุมลาย  เพลง Are you sleeping
ครูให้นักเรียนอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามบทเพลงเดิม หลังจากที่ได้ฝึกอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
7-10
ครูให้นักเรียนฝึกอ่านโน้ตสากล และฝึกปฏิบัติเครื่องตาม
             บทเพลง
             ชาติไทย
ครูให้นักเรียนอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์ดอร์ตามบทเพลงเดิม หลังจากที่ได้ฝึกอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 

 
 2.  ในการสอนทุกสัปดาห์  ผู้วิจัยได้ดำเนินการใช้วิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ดังนี้  การสังเกตการสอนของครู  การสนทนาพูดคุยกับนักเรียน  การอ่านโน้ตสากลของนักเรียนในแต่ละแบบฝึกหัดที่เตรียมให้  และให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ 

  3.  วิธีการสอนทั้งใน  10  สัปดาห์  ผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนดังต่อไปนี้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

            ครูทบทวนทฤษฎีสัญลักษณ์ต่างๆ  ครูให้นักเรียนเขียนสัญลักษณ์ต่างๆ และให้นักเรียนอ่านแบบฝึกหัดที่ครูเตรียมให้โดยเลียงลำดับความยากง่าย

ขั้นสอน   โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิค e-Learning    http://issarin.blogspot.com/

            1.  ครูอภิปรายเกี่ยวกับสัญลักษณ์พื้นฐานทางดนตรี  เช่น บรรทัด  5  เส้นโน้ตตัวกลม  โน้ตตัวขาว  และโน้ตตัวดำ  สัญลักษณ์ตัวหยุดต่างๆ 

            2.  ครูยกตัวอย่างสัญลักษณ์พื้นฐานต่างให้นักเรียนดู

            3.  ครูอภิปรายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆ  ตามตารางการสอนที่ได้กำหนดไว้ทั้ง  10  สัปดาห์

            4.  ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดฝึกเขียน  ฝึกอ่านโน้ตสากล  และการปฏิบัติเครื่องดนตรี 

                  รีคอร์เดอร์

ขั้นสรุป

            1.  ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับสัญลักษณ์พื้นฐานทางดนตรีต่างๆ 

2.  ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโดยการเขียน  การอ่านโน้ตสากล  และการปฏิบัติ

     เครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์

3.  ตรวจแบบทดสอบโดยการเขียน  การอ่านโน้ตสากล  และการปฏิบัติเครื่องดนตรีตาม

     แบบฝึกหัดต่างๆ ที่กำหนดให้

 

9.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

            1.  เครื่องมือที่ใช้ในการสอนหมายถึง  สื่อ  วัสดุ  อุปกรณ์  อินเตอร์เน็ต แผนจัดการเรียนรู้

            2.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย

                        2.1  แบบบันทึกประจำสัปดาห์ของครู  หมาย ถึง  การที่ครูสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน  จากนั้นมาทำการจดบันทึกสรุปประจำสัปดาห์  สัปดาห์ละ  2  ครั้ง  โดยครอบคลุม  4  ประเด็น  ดังนี้  การสังเกตการสอนของครู  การสนทนาพูดคุยกับนักเรียน  การตรวจเช็คการเขียน  อ่านโน้ตสากล และการปฏิบัติเครื่องดนตรี รีคอร์เดอร์ในแต่ละครั้งของนักเรียนในตาราง  โดยมีการควบคุมการเรียนการสอนทั้งหมด  20  ครั้ง

            2.2  แบบตารางดำเนินการสอนของครู  10  สัปดาห์  =  2 / สัปดาห์

            2.3  แบบทดสอบแบบฝึกเขียน  อ่านโน้ตสากล

            2.4  แบบตารางคะแนนในการเขียน อ่านโน้ตสากลของนักเรียนแต่ละคน

            2.5 ได้นำแบบฝึกการอ่านโน้ตสากล  และการปฏิบัติเครื่องดนตรีมาวิเคราะห์ผลการเรียนรู้

 
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ 

      1.  สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูล  ได้แก่


      1.1 การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


            1.1.1  วิเคราะห์หาค่าความตรงตามเนื้อหา  IOC (Index of Item


Objective Congruence)  โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหา 


โดยใช้สูตรดังนี้  (สมนึก  ภัททิยธนี.    2544  :  221)


 


                                                                    


 


            เมื่อ      IOC     แทน    ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดมุ่งหมายกับเนื้อหาหรือ


                                           ระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์


                          แทน    ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด


                         N         แทน    จำนวนผู้เชี่ยวชาญ


                  

                   เมื่อ      S.D.    แทน    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                      แทน    ค่าเฉลี่ย

                               X         แทน    คะแนนแต่ละตัว

                               N         แทน    จำนวนสมาชิกในกลุ่มนั้น

 

 

การกำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ดังนี้      +1 แทน เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบที่ออกมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่

                                                               ต้องการวัด

            0  แทน    เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบที่ออกมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

                                      ที่ต้องการวัด

            -1  แทน    เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบที่ออกมีไม่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

                                      ที่ต้องการวัด

      ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่  .50  ขึ้นไป 

 

 

 

                               

 

(กรณีอิงเกณฑ์)

                         1.1.2  วิเคราะห์หาค่าความยากเป็นรายข้อของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

โดยใช้สูตร  (สมนึก  ภัททิยธนี.    2544  :  189)

 


 

                                เมื่อ     P          แทน    ค่าความยากของข้อสอบ

                   R           แทน    จำนวนคนที่ทำข้อนั้นถูก 

                   N           แทน    จำนวนคนที่ทำข้อนั้นทั้งหมด

 

                   1.1.3  วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ (Discrimination) ของข้อสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยใช้สูตร  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 103)   

 


 

เมื่อ            B          แทน   ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ

                   N1         แทน    จำนวนคนรอบรู้ (หรือสอบผ่านเกณฑ์)

                   N2        แทน    จำนวนคนไม่รอบรู้ (หรือสอบไม่ผ่านเกณฑ์)

                   U         แทน    จำนวนคนรอบรู้ (หรือสอบผ่านเกณฑ์) ตอบถูก

                   L          แทน    จำนวนคนไม่รอบรู้ (หรือสอบไม่ผ่านเกณฑ์) ตอบถูก

 

 

1.1.4  วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง  (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   โดยใช้สูตรของโลเวท  (Lovett)  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 111)

 


 

                                เมื่อ     rcc        แทน    ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ

                   K         แทน    จำนวนข้อของแบบทดสอบทั้งฉบับ

                   Xi        แทน    คะแนนสอบของนักเรียนแต่ละคน  

                   C         แทน    คะแนนจุดตัด

 

 

(กรณีอิงกลุ่ม)

                         1.1.2  วิเคราะห์หาค่าความยากเป็นรายข้อของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

โดยใช้สูตร  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 100)

 

                                            สูตรตัวถูกและตัวลวง           

 

                                เมื่อ     P          แทน    ค่าความยากของข้อสอบ

                   H           แทน    จำนวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูก

                   L           แทน    จำนวนคนในกลุ่มต่ำตอบถูก

                   N           แทน    จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

 

1.1.3  วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ  (Discrimination)  ของข้อสอบ

วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยใช้สูตร  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 100)             

 

                                      ตัวถูก       ,        ตัวลวง  

 

                               เมื่อ     r           แทน    ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ

                   H           แทน    จำนวนคนในกลุ่มสูงตอบถูก

                   L           แทน    จำนวนคนในกลุ่มต่ำตอบถูก

                   N           แทน    จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

 

                                      1.1.4  วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง  (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   โดยใช้สูตรของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson) (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 107)

 


 

                                เมื่อ     rtt          แทน    ความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับ

                   K         แทน    จำนวนข้อของแบบทดสอบทั้งฉบับ

                   p          แทน    อัตราส่วนของผู้ตอบถูกในข้อนั้น

                   q          แทน    อัตราส่วนของผู้ตอบผิดในข้อนั้น

                   S2        แทน    ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ

 

 

                   1.2  สถิติที่ใช้หาคุณภาพของแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า

                                      1.2.1  วิเคราะห์หาค่าความตรงตามเนื้อหา  IC (Index of Congruence)  โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับเนื้อหาในการสอบถามโดยใช้สูตรเดียวกันกับข้อ 1.1.1

                                      1.2.2 วิเคราะห์หาค่าคุณภาพรายข้อ  โดยหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  (Pearson’s Product-Moment Correlation)  ระหว่างคะแนนแต่ละข้อกับคะแนนรวม  (Item – total Correlation)  โดยใช้สูตรดังนี้  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 112 - 114)

 


 

                   เมื่อ                 แทน    ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนแต่ละข้อกับคะแนนรวม

                                             แทน    ผลรวมของคะแนน  X

                                             แทน    ผลรวมของคะแนน  Y 

                                              แทน   จำนวนผู้ตอบทั้งหมด         

                                   แทน    ผลรวมทั้งหมดของผลคูณระหว่าง  X กับ Y

                                    แทน    ผลรวมทั้งหมดของกำลังสองของ  X

                                      แทน    ผลรวมทั้งหมดของกำลังสองของ Y

 

 

1.2.3  หาคุณภาพแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  โดยการหาความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับ  ใช้วิธีการหาสัมประสิทธิ์อัลฟา    ของครอนบาค 

โดยใช้สูตรดังนี้  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 116 - 117)

 


 

                   เมื่อ                    แทน    ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น

                                              แทน    จำนวนข้อเครื่องมือวัด

                                     แทน    ผลรวมของความแปรปรวนแต่ละข้อ

                                            แทน   ความแปรปรวนของคะแนนรวม

 

                         1.3  สถิติที่ใช้หาคุณภาพนวัตกรรม

                                      1.3.1  วิเคราะห์หาค่าความตรงตามเนื้อหา  IOC (Index of Item Objective Congruence)  โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหาในการสอบถาม

โดยใช้สูตรเดียวกันกับข้อ 1.1.1

                                      1.3.2  เกณฑ์ประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/E2)โดยวิธีของกูดแมน  เฟรทเชอร์  และชไนเดอร์ (Goodman, Fretcher and Schneider.   1980 :  30 – 34

 

    หรือ  

 

                                            เมื่อ      E1        แทน  ประสิทธิภาพของกระบวนการ

                                                           แทน  ผลรวมของคะแนนนักเรียนที่ได้จากการวัด

                                                                                                ระหว่างเรียน

                                                         N         แทน  จำนวนผู้เรียน

                                                         A         แทน  คะแนนเต็มของคะแนนระหว่างเรียน

 

 

 

 

    หรือ  

 

                                            เมื่อ      E2        แทน  ประสิทธิภาพของผลลัพธ์

                                                         แทน  ผลรวมของคะแนนนักเรียนที่ได้จากการวัด

                                                                                                หลังเรียน

                                                         N         แทน  จำนวนผู้เรียน

                                                         B         แทน  คะแนนเต็มของคะแนนแบบหลังเรียน

                                      1.3.3  หาค่าดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม  (E.I.)  โดยวิธีของกูดแมน    เฟรทเชอร์  และชไนเดอร์ (Goodman, Fretcher and Schneider.   1980 :  30 - 40)

 
ผลรวมของคะแนนหลังเรียนของทุกคน - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนของทุกคน
 



(จำนวนนักเรียน x คะแนนเต็ม) - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนของทุกคน
 
                   ดัชนีประสิทธิผล =

 

               

2.  สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล

             2.1  สถิติพื้นฐาน

                   2.1.1  ค่าร้อยละ  โดยใช้สูตร  (บุญชม  ศรีสะอาด.    2547  :  ......)

 

ร้อยละ

 

                         เมื่อ      f           แทน    ค่าความถี่

                                      n          แทน    จำนวนทั้งหมด

 

                   2.1.2  วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย   (Arithmetic Mean)   ใช้สูตร  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 123)


 

เมื่อ             แทน    ค่าเฉลี่ย

                                        แทน    ผลรวมของคะแนนทุกตัวในกลุ่ม

                                      n          แทน    จำนวนสมาชิกในกลุ่ม

 

                               2.1.3  วิเคราะห์หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard Deviation)   โดยใช้สูตร         (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 124)


 

                   เมื่อ      S.D.    แทน    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                      แทน    ค่าเฉลี่ย

                               X         แทน    คะแนนแต่ละตัว

                               N         แทน    จำนวนสมาชิกในกลุ่มนั้น

 

 

                   3.  สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน

                         3.1 วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนที่เรียนโดยบทเรียนมัลติมีเดียบนระบบเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์  กับเกณฑ์

ที่กำหนด (ร้อยละ......)  โดยการทดสอบที (t-test One Sample Group)  (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 128)

 

,       

 

                   เมื่อ      t           แทน    ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤติจากการแจกแจง

                                                         แบบ t เพื่อทราบความมีนัยสำคัญ

                               S.D.    แทน    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                      แทน    คะแนนแต่ละตัว

                               n          แทน    จำนวนสมาชิกในกลุ่มนั้น

 

                         (กรณีไม่ได้ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้)

 

 

                   3.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนที่เรียนโดยบทเรียนมัลติมีเดียบนระบบเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์  ก่อนเรียนกับหลังเรียน  โดยการทดสอบที (t-test Dependent Sample) (สุรวาท ทองบุ.    2550 : 129)

 

                                                         , 

 

                                เมื่อ      t     แทน  ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤติจากการแจกแจง

                                                                                  แบบ t เพื่อทราบความมีนัยสำคัญ

                                                               D   แทน  ผลต่างระหว่างคู่คะแนน

                                                               n    แทน  จำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่คะแนน

 

                         3.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนที่เรียนโดยบทเรียนมัลติมีเดียบนระบบเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์  กับการสอนตามปกติ  โดยการทดสอบที (t-test Independent Sample)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

10.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

            10.1  พฤติกรรมการเรียน

                        จากแบบสังเกตซึ่งผู้วิจัยบันทึกในเครื่องมือ  การวิเคราะห์ตอนนี้  ผู้วิจัยได้นำแบบตารางการบันทึกพฤติกรรมของครูที่จดบันทึกไว้มาสังเคราะห์สรุปเป็นจำนวน  10  ครั้ง  โดยได้ทำเป็นตารางการบันทึก  ดังนี้

 

บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
ก่อนเรียน
หลังเรียน
1
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  โด นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  เร นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  มี นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
2
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ฟา นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
 
ก่อนเรียน
หลังเรียน
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ซอล นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ลา นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และโน้ตตัวดำบนบรรทัด 5 เส้น บนตำแหน่งของเสียง  ที นักเรียนเขียนและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
 
ก่อนเรียน
หลังเรียน
 
3
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์ตัวหยุด 4 จังหวะพร้อมทั้งฝึกอ่านโน้ตที่มีตัวหยุด4  จังหวะนักเรียนทั้งหมดอ่านได้แต่ยังอ่านยังไม่คล่องเท่าที่ควร
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์ตัวหยุด 2 จังหวะพร้อมทั้งฝึกอ่านโน้ตที่มีตัวหยุด2  จังหวะนักเรียนทั้งหมดอ่านได้แต่ยังอ่านยังไม่คล่องเท่าที่ควร
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์ตัวหยุด 1 จังหวะพร้อมทั้งฝึกอ่านโน้ตที่มีตัวหยุด1  จังหวะนักเรียนทั้งหมดอ่านได้แต่ยังอ่านยังไม่คล่องเท่าที่ควร
ครูให้นักเรียนฝึกเขียนและอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึกหัดเดิม หลังจากที่ได้ฝึกเขียนและอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
บันทึกสัปดาห์ที่
บันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน
 
ก่อนเรียน
หลังเรียน
 
4-6
ครูให้นักเรียนฝึกอ่านโน้ตสากล และฝึกปฏิบัติเครื่องตาม
             บทเพลง
แมงมุมลาย  เพลง Are you sleeping
ครูให้นักเรียนอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามบทเพลงเดิม หลังจากที่ได้ฝึกอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 
7-10
ครูให้นักเรียนฝึกอ่านโน้ตสากล และฝึกปฏิบัติเครื่องตาม
             บทเพลง
             ชาติไทย
ครูให้นักเรียนอ่านซ้ำพร้อมทั้งปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ตามบทเพลงเดิม หลังจากที่ได้ฝึกอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีแล้วนักเรียนสามารถอ่านและปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
 

10.2  ผลการเรียน

            การวิเคราะห์ตอนนี้  ผู้วิจัยได้นำคะแนนในการเขียน  อ่านโน้ตสากลและการปฏิบัติเครื่องดนตรีตามแบบฝึกหัดต่างๆ  คะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  มีดังนี้

แบบตารางบันทึกการให้คะแนนในการเขียน  อ่านและการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์

ของเด็กชาย

 

แบบบันทึกการเขียน อ่านโน้ตสากล และการปฏิบัติเครื่องดนตรีคอร์เดอร์
คะแนน  ( 10 )
ก่อนเรียน
หลังเรียน
1.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  โด
6
10
2.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  เร
6
10
3.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  มี
6
10
4.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ฟา
6
10
5.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ซอล
5
10
6.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ลา
5
10
7.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ที
6
10
8.  สัญลักษณ์ตัวหยุด 4 จังหวะ
6
10
9.  สัญลักษณ์ตัวหยุด 2 จังหวะ
5
10
10.  สัญลักษณ์ตัวหยุด 1 จังหวะ
4
10
11.  แบบฝึกหัดบทเพลง  แมงมุมลาย  เพลง Are you sleeping
5
10
12.  แบบฝึกหัดบทเพลง               เพลงชาติไทย
4
10
รวมค่าเฉลี่ย
53.33
100.00

 

แบบตารางบันทึกการให้คะแนนในการเขียน  อ่านและการปฏิบัติเครื่องดนตรีคอร์เดอร์

ของเด็กหญิง

 

 

แบบบันทึกการเขียน อ่านโน้ตสากล และการปฏิบัติเครื่องดนตรีคอร์เดอร์
คะแนน  ( 10 )
ก่อนเรียน
หลังเรียน
1.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  โด
5
10
2.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  เร
5
10
3.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  มี
5
10
4.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ฟา
6
10
5.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ซอล
6
10
6.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ลา
7
10
7.  โน้ตตัวกลม ตำแหน่งเสียง  ที
7
10
8.  สัญลักษณ์ตัวหยุด 4 จังหวะ
7
10
9.  สัญลักษณ์ตัวหยุด 2 จังหวะ
5
8
10.  สัญลักษณ์ตัวหยุด 1 จังหวะ
4
10
11.  แบบฝึกหัดบทเพลง  แมงมุมลาย  เพลง Are you sleeping
4
10
12.  แบบฝึกหัดบทเพลง              เพลง ชาติไทย
5
9
รวมค่าเฉลี่ย
55.00
97.50

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


            คะแนน                                    เกณฑ์


            80   -    100                              ดีมาก                           *  เกณฑ์คะแนนหลังเรียน

 

            70    -   79                                ดี

 

            60    -   69                                พอใช้


            50    -   59                                แก้ไข                           *  เกณฑ์คะแนนก่อนเรียน

 

            40     -   49                               ปรับปรุง

 

 

            ผลการวิเคราะห์คะแนนจากตารางปรากฏว่าก่อนเรียน  นักเรียนสามารถเขียน  อ่านโน้ตสากลและการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์อยู่ในเกณฑ์  53.33  ,  55.00  คือต้องมีการแก้ไขและคะแนนหลังเรียน  นักเรียนสามารถเขียน  อ่านโน้ตสากลและการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์อยู่ในเกณฑ์  97.350  ,  100.00  คือดีมาก

 

บทที่ 5

สรุปผล  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

 

11.  สรุปผล

            จากผลในการวิจัยในเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากลเพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอเดอร์  โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิค e-Learning ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ซึ่งมีจำนวนนักเรียน 2 คน  คือ       พบว่ามีปัญหาในด้านทักษะการอ่านสะกดคำ  ผู้วิจัยจึงได้ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบการเขียน  อ่านโน้ตสากลและการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์  ให้นักเรียนได้ฝึกเขียน อ่านโน้ตสากล  ในขั้นแรกคือก่อนเรียน  นักเรียนสามารถเขียน อ่านโน้ตสากลที่กำหนดให้ได้อยู่ในเกณฑ์  53.33  ,  55.00  จากเกณฑ์  ร้อยละ  80  ผลคือยังต้องมีการแก้ไข  ดังนั้นครูจึงใช้แนวการสอนและเทคนิคต่างๆ  ในการที่จะให้นักเรียนมีความเข้าใจในทักษะในด้านการเขียน อ่านโน้ตสากลและการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์  และได้ให้เพื่อนๆ  ในห้องได้มีส่วนร่วมในการแนะนำหลักและวิธีการจำตำแหน่งของเสียงต่างๆ บนบรรทัด 5 เส้น  หลังจากนั้นครูได้ใช้ชุดแบบทดสอบชุดเดิม  ให้นักเรียนได้ฝึกทดลองอ่านโน้ตสากลอีกครั้งหนึ่ง  ผลปรากฏว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านและการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์โดยคิดเป็นร้อยละ  100.00 ,  97.50  แสดงว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านที่ดีขึ้นจึงส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์อยู่ในเกณฑ์

ที่ดี

 

12.  ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย

            1.  จะช่วยให้ผู้วิจัยทราบว่าในการทำวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากลเพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีปัญหาในการวิจัยว่าเป็นอย่างไรบ้าง

            2.  เพื่อสรุปผลการประเมินแล้วจะได้มีการพัฒนาให้ตรงกับการการอ่านโน้ตสากลเพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ได้อย่างรวดเร็ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เค้าโครง  งานวิจัยในชั้นเรียน

 

ชื่อผู้วิจัย          นายอิสรินทร์  ทาส่วย                          กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ

 

ช่วงชั้นที่  2     ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 )

 

ชื่อเรื่อง            ชื่อเรื่อง      การพัฒนานาทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล เพื่อส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรี รีคอร์เดอร์ โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิค e-Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


 

สภาพปัญหา   

            ในวิชาดนตรี  สิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด คือการที่จะต้องเรียนรู้สัญลักษณ์พื้นฐานต่างๆทางดนตรีสากล  ถ้าผู้สอนสามารถฝึกทักษะในด้านการเขียน และอ่านโน้ตสากลให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในทักษะพื้นฐานนี้  ปัญหาผลการเรียนของผู้เรียนในการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ก็จะลดลง  จากผลการวัดผลประเมินผลในระดับชั้น  ผู้วิจัยจึงมีความคิดเห็นว่า  ทักษะพื้นฐานในด้านการเขียน อ่านโน้ตสากลนี้ส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์  จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  จึงจัดให้มีการเสริมทักษะในการเขียนอ่านโน้ตสากลขึ้น

 

ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา

1.            วิธีการสอนเรียนปนเล่น  (    กิจกรรม  /  ใบงาน  /  ใบความรู้  สื่อ ICT อินเตอร์เน็ต )

2.            วิธีการสอนด้วยการฝึกฝนด้วยตนเองจากการเขียน อ่านแบบฝึกหัด  กิจกรรมต่างๆ ในทุกชั่วโมงที่สอน

 

จุดประสงค์การวิจัย

            เพื่อพัฒนาการทางด้านการอ่าน และการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์

 

 

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

            เดือน มิถุนายน ถึง  สิงหาคม

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.                เตรียมใบงาน  /  แบบฝึกหัด  /  กิจกรรม 

2.                ปรับแผนการสอนให้สอดคล้องกับงานวิจัย

3.                สอดแทรกใบงาน  /  แบบฝึกหัด  /  กิจกรรม 

4.                เน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติสม่ำเสมอ  เมื่อมีเวลาว่าง

5.                คัดเลือกนักเรียนที่มีปัญหาในทักษะด้านการอ่านโน้ตสากล และการปฏิบัติเครื่องดนตรีรีคอร์เดอร์

6.                ทดสอบความก้าวหน้า  และพัฒนาผู้เรียนเป็นระยะๆ

7.                รวบรวมเอกสาร  และสรุปผลการวิจัย

 

ผลการดำเนินงาน  /  ผลการแก้ปัญหาจากการนำไปปฏิบัติจริง

............................................................................................................................

...........................................................................................................................................

สรุปผลการดำเนินงาน

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... อภิปรายผล

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

บรรณานุกรม

 

กาญจนา ภาสุรพนธ์.(2531). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย

อาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา8.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม..กรุงเทพฯ: มหาวิยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

สุทธจิตถ์.(2544).พฤติกรรมการสอนดนตรี.กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

นฤดล เผือกอําไพ.(2553).  การศึกษาความพึงพอใจในการใช้ห้องเรียนดนตรี สากลวิชาเลือกเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลั ยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน . วิจัยในชั้นเรียน กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มานพ วิสุทธิแพทย์ .(2548).ดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ:

โรงพิมพ์ สันติศิริ การพิมพ์.

 ราชบัณฑิตยสถาน.(2505).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน พ.ศ. 2493.กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2538).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน พ.ศ. 2525.กรุงเทพฯ:

อักษรเจริญทัศน์.

วันทยา วงศ์ศิลปภิรมณี.(2533).การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียนที่มี ผลจากความพอใจในการได้เลือกบทเรียน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิ ทยาลัย  มหาวิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุเทพ เมฆ.(2531).ความพึงพอใจในบรรยากาศการเรียนการสอนของนักเรียนและครูโรงเรียน

Good,Carter V.(1973).Dictionary of Education.ed.New york:Mcgraw-Hill Book company.

 Morse ,Nancy C. (1955) .Satisfactions in the White Collar job.Michigan : University of Michigan.

Wallerstein,Harver.(1971).Dictionary of Psychology.Maryland:penguin Book Inc.