วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากล

ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีสากล(music Instruments) 
           เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

              เครื่องสาย (String Instruments)
              เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
              เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
              เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)
              เครื่องกระทบ (Percussion Instruments)

          เครื่องสาย (string instrument) เป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสายนี้ หมายถึง เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่งยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด

เครื่องสายประเภทใช้คันสี เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก่

          1.ไวโอลิน (Violin) เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนอง ประกอบด้วยสาย 4 สาย แต่ละสายเทียบเสียงห่างกันคู่ 5 เพอร์เฟค คือ เสียง G-D-A-E


           2.วิโอลา (Viola) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่าไวโอลิน ตั้งเสียงต่ำกว่าไวโอลินลงไปอีกคู่ 5 เพอร์เฟค คือ C-G-D-A มีเสียงทุ้มและนุ่มนวลกว่าไวโอลิน


           3.เชลโล (Cello) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินและวิโอลา แต่มีขนาดโตกว่ามาก ขณะเล่นต้องนั่งเก้าอี้ เอาเครื่องไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เสียงต่ำกว่าวิโอลา 1 ช่วงคู่ 8 คือ C-G-D-A


          4.ดับเบิลเบส (Double Bass) เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลไวโอลิน ผู้บรรเลงต้องยืนเล่น เสียงของดับเบิลเบส ต่ำสุดแสดงถึงความมีอำนาจ ความกลัว ความลึกลับ สายทั้งสี่ตั้งเสียงห่างกันเป็นคู่ 4 เพอร์เฟค คือ E-A-D-G



เครื่องสายประเภทเครื่องดีด (Plucked String) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก่

          1.ฮาร์พ (Harp) เป็นพิณโบราณขนาดใหญ่ มีประวัติเก่าแก่มาก มีสายขึงอยู่ทั้งหมด 47 สาย ช่วงเสียงกว้าง 6 Octaves ใช้บรรเลงในวงดนตรีประเภทออร์เคสตรา



          2.กีตาร์ (Guitar) กีตาร์ประกอบด้วยสาย 6 สาย โดยตั้งระดับเสียงต่ำไปหาสูง ในแต่ละสายดังนี้ E,A,D,G,B,E


          3.ลูท (Lute) เป็นพิณชนิดหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด มีรูปทรงเหมือนผลส้มผ่าซีก มีสะพานวางนิ้วที่มีช่องปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับกีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน ฯลฯ ชาวอาหรับโบราณนิยมกันมากแต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับความนิยม


          4.แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8สาย) หรือ 6 คู่ (12สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลาเล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด


         5.แบนโจ () เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก (Western Africa) เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันนิโกร วิธีการเล่นคล้ายกับกีตาร์


         เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments) เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือ

      1. ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube)

              1.1 ประเภทเป่าตรงปลาย

                      1. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องเป่าดนตรีสากลจัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้ชนิดไม่มีลิ้น เป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็ก โครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
            

             1.2 ประเภทเป่าลมเข้าทางด้านข้าง

                 1. ฟลูต (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง มีความยาว 26 นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดีและเสียงต่ำของฟลูตจะให้เสียงที่ นุ่มนวล


                2. ปิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจากไม้ หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียง เครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว (Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo)
2. ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed)


            2.1 ประเภทลิ้นเดี่ยว (Single reed)

                1. คลาริเนต () เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท และเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส

               2. แซกโซโฟน (

) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า “คลาริเนตทองเหลือง” (brass clarinet)

           2.2 ประเภทปี่ลิ้นคู่ (Double reed)

                 1. โอโบ () ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงโอเปร่าฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoboy” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้ ซองในขณะนั้นมีรูปิดเปิดเพียง 2- 3 รูเท่านั้น ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับปิดเปิดรู เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุดโอโบ คือ เครื่องดนตรีหลักที่จะต้องมีใน วงออร์เคสตร้า

                 2. คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) เป็นปี่ตระกูลเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่ ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล (Angle)” ขึ้น ต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn)


                3. บาสซูน () เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูนค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์

              เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments) เครื่องดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ

             เครื่องดนตรี บางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า “แตร” ขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า “กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี

           1. คอร์เนต (Cornet) ลักษณะคล้ายกับทรัมเปตแต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลมกล่อม เสียงสดใสน้อยกว่าทรัมเป็ท คอร์เน็ทนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่า ของ Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เน็ทเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง



            2. ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง(แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์


          3. เฟรนช์ฮอร์น (French Horn) คือ เครื่องเป่าทองเหลือง ท่อลมเป็นทรงกรวย ขยายออกไปตลอด ปลายท่อจะบานออกเป็นลำโพงอย่างกว้าง ท่อลมจะขดเป็นวงกลม เฟรนช์ฮอร์น พัฒนามาจากการเป่าเขาสัตว์เพื่อใช้บอกสัญญาณต่างๆ เสียงของเฟรนช์ฮอร์น จึงเหมือนกับเสียงที่เกิดจากกการเป่าเขาสัตว์  คุณภาพของเสียงเฟรนช์ฮอร์น  โปร่งเบาและมีความนุ่มนวลกังวาน เฟรนช์ฮอร์น    ในยุคแรกไม่มีนิ้วกดเล่นเสียงได้จำกัดใช้สำหรับการล่าสัตว์


         4. ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน


          5. ยูโฟเนียม (euphonium) คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ลักษณะเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้ในวงออร์เคสตร้าแทนทูบา คำว่า”ยูโฟเนียม” มาจากภาษากรีกหมายถึง ”เสียงดี” ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3 – 4 ลูกสูบมีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพงเสียง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งชื่อ “บาริโทน” มีเสียงใกล้เคียงกับยูโฟเนียม แต่ท่อลมมีขนาดเล็กกว่า เสียงของบาริโทนจะมีความห้าวมากกว่ายูโฟเนียม พบว่าบ่อยครั้งที่มีการเรียกชื่อสลับกันระหว่างยูโฟเนียมและบาริโทน


         6. ทูบา (tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพง กำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “พีเดิล โทน” (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง


          7. ซูซ่าโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับทูบา  ลักษณะของเสียงจะต่ำทุ้มลึก เหมาะที่จะบรรเลงในแนวเสียงเบสมากกว่าแนวอื่น   ชื่อซูซ่าโฟน  ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติกับ  จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa) นักประพันธ์เพลงผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา


                  เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments) เครื่องดนตรีสากลในกลุ่มนี้มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า“เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือมีลิ่มนิ้วสำหรับกดเพื่อปรับเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดเรียกว่า “คีย์ (Key)” เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากันโดยปกติสีของคีย์เป็นสีขาวกับดำ คีย์สีดำโผล่สูงขึ้นมามากกว่าคีย์สีขาว

             1. เปียโน(piano) เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า “เบาดัง” มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์
   
    แกรนด์เปียโน                              

อัพไลท์เปียโน

             2. ออร์แกน (organ) เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง


              3. ฮาร์ปซิคอร์ด(Harpsichord) เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่น เปียโน(Piano) แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้น เหมือน ออร์แกน (Organ) ผู้เล่นไม่สามารถปรับความดังของเสียงได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง (Acrustic Quality)


              4. คลาวิคอร์ด (clavichord) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเปียโน เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (Keybroad instruments) ในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้ จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้สี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 2 ฟุต ยาวประมาณ 4 ฟุต มีแถวของลิ่มนิ้วประมาณ 3 อ็อกเทฟ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือแตะของลิ่มทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพื่อทำให้เกิดเสียง แคลฟวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดยเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากแคลฟวิคอร์ดมีความไพเราะและนุ่มนวล


              5. แอคคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ แอคคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก



                 เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตี การสั่น การเขย่า การเคาะ หรือการขูด การตีอาจจะใช้ไม้ตีหรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุที่เป็นของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง แบ่งออกเป็น2ประเภท ได้แก่

               1. เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments)  เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้

                     1.ไซโลโฟน (Xylophone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย


                   2. ไวบราโฟน (Vibraphone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดโลหะขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไซโลโฟน  ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียง มีแกนใบพัดเล็กๆ ประจำอยู่แต่ละท่อ  ใช้ระบบมอร์เตอร์หมุนใบพัดทำให้เกิดคลื่นเสียงสั่นรัว ดังก้องกังวาลอย่างต่อเนื่อง


                  3. มาริมบา(Marimba) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) ลักษณะเหมือนกับระนาดไม้ขนาดใหญ่  ลูกระนาดทำด้วยไม้พิเศษที่มีชื่อว่า “rosewood”  ใต้ลูกระนาดจะมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง


                 4. ระฆังราว(Tubular  Bells) ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียงตามลำดับเสียงจากสูงไปต่ำ  แขวนกับโครงโลหะในแนวดิ่ง  ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนระฆัง


                  5. กลองทิมปานี(Timpani) เป็นกลองที่มีลักษณะเหมือนกระทะหรือกาต้มน้ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum ตัวกลองทำด้วยโลหะทองแดง ตั้งอยู่บนขาหยั่ง กลองทิมปานีมีระดับเสียงแน่นอนเทียบเท่ากับเสียงเบส มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามต้องการ ในการบรรเลงต้องใช้อย่างน้อย 2 ใบ เสียงของกลองจะแสดงอำนาจ ทำให้ความยิ่งใหญ่  ตื่นเต้นเร้าใจ


2.เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments)

         2. เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด

                   1. กิ๋ง(Triangle) เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีกระทบ ทำด้วยแท่งโลหะ  ดัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม  แท่งโลหะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.  เพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน ต้องแขวนกิ๋งไว้กับเชือกแล้วตีกระทบด้วยแท่งโลหะ  กิ๋งมีเสียงแจ่มใส  มีชีวิตชีวา


                  2. ฉาบ(Cymbal) คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ทำด้วยโลหะทองเหลือง มีหลายแบบ ทั้งฉาบแบบฝาเดียว และแบบสองฝา   แต่ละแบบยังมีหลายขนาดอีกด้วย  ฉาบแต่ละแบบมีลักษณะการตีแตกต่างกันออกไป   เสียงของฉาบทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ  ความสนุกสนาน  และความอึกทึกครึกโครม
                                                  
                  3. แทมโบริน(Tambourine) เป็นเครื่องตีกระทบจังหวะ  ประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือนขอบกลองขนาดเล็กประมาณ 10 นิ้ว  ขอบอาจทำด้วยไม้  พลาสติก หรือโลหะ รอบๆ ขอบติดด้วยแผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่น หรือติดด้วยลูกกระพรวนเป็นระยะ  ใช้การตีกระทบกับฝ่ามือหรือสั่นเขย่า ให้เกิดเสียงดังกรุ๋งกริ๋ง เพื่อประกอบจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน  สดชื่น แทมโบรินบางชนิดจะขึงด้วยหนังเหมือนกลอง 1 ด้าน ใช้ฝ่ามือตีที่หนังก็ได้  แทมโบรินมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Riqq หรือ Riq
                                                                              
                 4. มาราคา(Maraca) เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีกระทบ เดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัด ทำให้แห้ง ภายในบรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า  เมล็ดถั่วต่างๆ หรือลูกปัดลูกเล็กๆ ต่อด้ามไว้สำหรับจับถือ เล่นโดยการเขย่าด้วยมือทั้ง 2 ข้างสอดสลับกันเพื่อให้เกิดเสียงซ่าๆ ปัจจุบันทำด้วยไม้และพลาสติก


                 5. กลองชุด(Drum set) คือกลองที่ประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบขนาดต่างๆ  กลองทอม 2 หรือ 3 ลูกที่มีขนาดแตกต่างกัน ไฮแอท (ฉาบ 2 ฝาประกบติดกัน กระทบกันด้วยขาเหยียบ) พร้อมทั้งเพิ่มเครื่องกระทบจังหวะอื่นๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นพิเศษ อีกด้วย เช่น เคาเบลล์ เป็นต้น

เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากล

รูปภาพ เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย

ประเภทของเครื่องดนตรี

การจำแนกเครื่องดนตรีไทยตามลักษณะการบรรเลงสามรถแบ่งได้ ๔ ประเภท ได้แก่

เครื่องดีด

เป็นเครื่องสายที่มีกระโหลกเสียง และใช้นิ้วมือ หรือไม้ดีดสายให้สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงเช่น พิณ กระจับปี่ จะเข้ ซึง เป็นต้น ตามประวัติกล่าวว่า เครื่องมือประเภทนี้มีกำเนิดจากประเทศทางตะวันออกคือบรรดาประเทศในทวีปเอเซีย แล้วประเทศทางตะวันตก คือ บรรดาประเทศในทวีปยุโรปจึงได้นำไปดัดแปลง สร้างเครื่องดนตรีในประเภทเดียวกัน เป็นของตนในภาษาบาลีและสันสกฤตเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่า พิณ สำหรับของไทยมีปรากฎชื่อนี้ในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในสมัยกรุงสุโขทัย



  ตัวอย่าง วิดีโอการบรรเลงกระจับปี่ จาก http://www.youtube.com/watch?v=jhslh4-zPYE


เป็นพิณชนิดหนึ่ง มี ๔ สาย กระพุ้งพิณมีลักษณะ เป็นกล่องแบน รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูมุมมน ด้านหน้าทำเป็นช่อง ให้เสียงกังวาน ทวนทำเป็นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายแบน และงอนโค้งไปด้านหลัง ตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้ สำหรับขึ้นสาย ๔ ลูก สายส่วนมากทำด้วยสายเอ็น หรือลวดทองเหลือง ตลอดแนวทวนด้านหน้าทำเป็น “สะพาน” หรือ นม ปักทำด้วยไม้ เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์ สำหรับหมุนสายมี ๑๑ นม

บนหน้ากระพุ้งพิณ มีชิ้นไม้หรือชิ้นโลหะรองสายไว้เรียกว่า “หย่อง” ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสะเทือน จากการดีดสายลงมาสู่ ตัวกระพุ้งพิณ เวลาบรรเลงใช้นิ้วจับไม้ดีดเขี่ยสาย เพื่อให้เกิดเสียง ไม้ดีดปักทำด้วยงาช้าง เขาสัตว์ หรือวัสดุที่มีลักษณะ แบนและบาง
กระจับปี่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งของอินเดีย มีต้นกำเนิดจากการดีดสายธนู ตามหลักฐานพบว่า กระจับปี่มีมาตั้งแต่ สมัยสุโขทัย



ภาพ:พิณเปี๊ยะ จาก board.postjung.com


พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองลานนาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ลักษณะของพิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กรูปหัวช้าง ทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก ขยับเปิดปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ เช่นเดียวกับพิณน้ำเต้าของภาคกลาง ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับลำนำในขณะที่ไปเที่ยวสาว พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่่นยาก



ภาพ:จะเข้ จาก www.peephat.com

ตัวอย่างการบรรเลงเครื่องดนตรีจะเข้ จาก http://www.youtube.com/watch?v=z3ahS0UkQ1s



จะเข้ สัณนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลจากมอญ เดิมทำเป็น รูปร่างเหมือน จระเข้ ไทยใช้จะเข้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา และคงเล่นอย่างบรรเลงเดียว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้นำจะเข้เข้ามาผสมแทนกระจับปี่ เพราะเสียงดีกว่าและดีดได้สะดวกกว่า

จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แก่นขนุน เพราะให้เสียงกังวาลดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว ๔ ขา ตอนท้าย ๑ ขา มีสาย ๓ สาย คือ สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง ทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ (กล่องทองเหลืองกลวง) ไปพาดกับ “หย่อง” แล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิด(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูก โต๊ะนี้ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้น ระหว่างราง ด้านบนกับสายจะเข้ จะมีชิ้นไม้เล็ก ๆ ทำเป็นสันหนาเรียกว่า “นม” ๑๑ นม วางเรียงไปตามแนวยาว เพื่อรองรับการกด จากนิ้วมือขณะบรรเลง นมเหล่านี้มีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป ทำให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ เวลาดีดจะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์ กลึงเป็นท่อนกลม ปลายเรียวแหลมมน ดีดปัดสายไปมา ไม้ดีดนี้จะพันติดกับนิ้วชี้มือขวา ส่วนมือซ้ายใช้กดนิ้วบนสายถัดจากนม ไปทางซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ



ภาพ:ไหซอง จาก student.spu.ac.th

ตัวอย่างการบรรเลงไหซอง จาก http://www.youtube.com/watch?v=V30xyEsbD1U




ไหซอง เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหปลาร้าที่ไม่ใช้แล้ว ขึงด้วยยางหนังสติ๊กหรือยางอื่นๆ บริเวณปากไห จัดเป็นชุด ชุดละหลายใบ โดยมีขนาดลดหลั่นกัน บรรเลงโดยการดีดด้วยนิ้ว ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบส ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานหรือที่นิยมเรียกว่าวงโปงลาง

ปัจจุบันวงโปงลางส่วนใหญ่นิยมใช้พิณเบส แทนการใช้ไหซอง เนื่องจากให้เสียงดังกว่าและสามารถบรรเลงพลิกแพลงได้มากกว่า จึงแทบไม่มีการดีดไหซองเพื่อการบรรเลงจริงๆแล้ว การดีดไหซองในปัจจุบันเป็นเพียงการแสดงลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำ นิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีด เรียกว่า นางไห ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่างๆ

วีดีโอตัวอย่างการบรรเลงพิณน้ำเต้า จาก http://www.youtube.com/watch?v=SopooRmlFoI



พิณน้ำเต้า สันนิษฐานว่า พิณมีกำเนิดในประเทศ ทางตะวันออก พิณโบราณเรียนพิณน้ำเต้า ซึ่งมีลักษณะเป็น พิณสายเดี่ยว สันนิษฐานว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลาย ในดินแดนสุวรรณภูมิ เรียกว่าพิณน้ำเต้า เพราะใช้ เปลือกผลน้ำเต้ามาทำ คันพิณ

ที่เรียกว่า ทวน ทำด้วยไม้เหลา ให้ปลายข้างหนึ่ง เรียวงอนโค้งขึ้นสำหรับผูกสาย ที่โคนทวน เจาะรูแล้วเอาไม้มาเหลาทำลูกบิด สำหรับบิดให้สายตึงหรือหย่อน เพื่อให้เสียงสูงต่ำ สายพิณมีสายเดียวเดิมทำด้วยเส้นหวาย ต่อมาใช้เส้นไหม และใช้ลวดทองเหลืองในปัจจุบัน

การดีดพิณน้ำเต้า ปกติผู้ดีดจะไม่สวมเสื้อ ใช้มือซ้ายจับทวน เอากะโหลกพิณประกบติดกับเนื้อที่อกเบื้องซ้าย ใช้มือขวาดีดสาย ขยับกะโหลกปิดเปิดที่ทรวงอก เพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามที่ต้องการ ใช้นิ้วมือซ้ายช่วยกดหรือเผยอ เพื่อให้สายตึงหย่อน การดีดจะประสานกับเสียงขับร้องของผู้ดีดเอง

เครื่องสี

เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ ซอสามสาย ซออู้ และซอด้วงที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ สะล้อ สำหรับประเทศทางตะวันตก เครื่องดนตรีประเภทนี้ได้แก่ ไวโอลินและไวโอลา เป็นต้น

             

ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
– กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้

– คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า “โขน” ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า “ทวนล่าง”

– ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก

– รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง

– หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ

– คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี
การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก



ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้

– กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า “ขนงไม้สัก” มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี

– คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด

– ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม

– รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน

– หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ

-ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม

– หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม

– คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น



ภาพ: ซออู้ จาก http://www.thaigoodview.com

ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้

– กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด

– คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น

-ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก

– รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน

-หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกังวาล บางทีเรียกว่า หย่อง

– คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ ๒๕๐ เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม
การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก ๕ เสียง



เครื่องตี
เป็น เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องดนตรีไทย ที่เป็นประเภทเครื่องตีมีดังนี้ เครื่องดนตรีทำด้วยไม้ เครื่องดนตรีทำด้วยเหล็ก และเครื่องดนตรีทำด้วยหนัง

เครื่องตีที่ทำด้วยไม้



กรับพวง ทำด้วยไม้หรือโลหะ ลักษณะเป็นแผ่นบาง หลายแผ่นร้อยเข้าด้วยกัน ใช้ไม้หนาสองชิ้นประกับไว้
วิธีตี ใช้มือหนึ่งถือกรับ แล้วตีกรับลงไปบนอีกมือหนึ่งที่รองรับ ทำให้เกิดเสียงกระทบจากแผ่นไม้ หรือแผ่นโลหะดังกล่าว ใช้ตีในการบรรเลงมโหรี โบราณ เล่นเพลงเรือ และโขนละคร


กรับเสภา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีสันมนวิธีตี การตีใช้ขยับมือที่ละคู่ การขับเสภาใช้กรับสองคู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับ สองคู่นี้ตามท่วงทำนองที่เรียกเป็นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้กรอ ไม้หนึ่ง ไม้รบ หรือไม้สี่


ระนาดเอก (เป็นเครื่องตี ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ)

จาก: shopmusic.weloveshopping.com

ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า “โขน” ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า “ปี่พาทย์ไม้แข็ง” ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า “ปีพาทย์ไม้นวม” วิธีตี เมื่อตีตามจังหวะของลูกระนาดแล้วจะเกิดเสียงกังวาล ลดหลั่นกันไปตามลูกระนาด ระนาดที่ให้เสียงแกร่งกร้าว อันเป็นระนาดดั้งเดิมเรียกว่า ระนาดเอก



จาก : pirun.ku.ac.th

ระนาดทุ้ม เลียนแบบระนาดเอก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลูกระนาดมีจำนวน ๑๗-๑๘ ลูก ตัวลูกมีขนาดกว้างและยาวกว่าของระนาดเอก ตัวรางก็แตกต่าง จากระนาดเอก คือเป็นรูปคล้ายหีบไม้แต่เว้ากลาง มีโขนปิดหัวท้าย มีเท้าอยู่สี่มุมราง ไม้ตีตอนปลายใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่ม เวลาตีจะได้เสียงทุ้ม

วิธีตี ตีตามจังหวะของลูกระนาดใช้บรรเลงในวงปีพาทย์ทั่วไป มีวิธีการบรรเลง แตกต่างไปจากระนาดเอก คือไม่ได้ยึดการบรรเลงคู่ ๘ เป็นหลัก

เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ



ภาพ : student.nu.ac.th

ฆ้อง ตัวฆ้องทำด้วยโลหะแผ่นรูปวงกลมตรงกลางทำเป็นปุ่มนูน เพื่อใช้รองรับการตีให้เกิดเสียงเรียกว่า ปุ่มฆ้อง ต่อจากปุ่มเป็นฐานแผ่ออกไป แล้วงองุ้มลงมาโดยรอบเรียกว่า “ฉัตร” ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มเรียกว่า “หลังฉัตร” หรือ ” ชานฉัตร” ส่วนที่งอเป็นขอบเรียกว่า “ใบฉัตร” ที่ใบฉัตรนี้จะมีรูเจาะสำหรับร้อยเชือกหรือหนังเพื่อแขวนฆ้อง ถ้าแขวนตีทางตั้งจะเจาะสองรู ถ้าแขวนตีทางนอนจะเจาะสี่รู
การบรรเลง ฆ้องใช้ในการบรรเลงได้สองลักษณะคือ ใช้ตีกำกับจังหวะ และใช้ตีดำเนินทำนอง ฆ้องที่ใช้ตีกำกับจังหวะได้แก่ ฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฆ้องเหม่ง ฆ้องระเบ็ง และฆ้องคู่ ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง ได้แก่ ฆ้องราง ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องมอญ ฆ้องกะแตและฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ฆ้องกะแต ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลูกฆ้องมีขนาดเล็ก จำนวน ๑๑ ลูก

ฆ้องมโหรี เป็นฆ้องวงที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีโดยเฉพาะ มีอยู่สองขนาด คือฆ้องวงใหญ่มโหรีและฆ้องวงเล็กมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรีเดิมมีลูกฆ้อง ๑๗ ลูก ต่อมานิยมใช้ ๑๘ ลูก

ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบเหมือนฆ้องไทย มีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก ใช้บรรเลงใน วงปีพาทย์มอญ ตัวรางประดิษฐ์ตกแต่งงดงาม

ฆ้องระเบ็ง ใช้ตีประกอบการและแสดงระเบ็ง ชุดหนึ่งมีสามลูก มีขนาดและให้เสียงสูง-ต่ำ ต่างกัน มีชื่ออีกอย่างหนึ่งตามลักษณะว่า “ฆ้องราว” ฆ้องราง ใช้ตีดำเนินทำนอง ชุดหนึ่งมี ๗-๘ ลูก เสียงลูกที่ ๑ กับลูกที่ ๘ เป็นเสียงเดียวกัน แต่ต่างระดับเสียง ปัจจุบันไม่มีการใช้ในวงดนตรีไทย

ฆ้องวงใหญ่ มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ลูกเสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด ไม้ที่ใช้ตีมีสองอัน ผู้ตีถึงไม้ตีมือละอัน

ฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๑๘ ลูก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ มีหน้าที่เก็บ สอด แทรก ฯลฯ

ฆ้องหุ่ย ใช้ตีกำกับจังหวะ เป็นฆ้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในวงดนตรีไทย มีอีกชื่อว่า ฆ้องชัย อาจเป็นเพราะสมัยโบราณ ใช้ฆ้องชนิดนี้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ปัจจุบันใช้ตีใน งานพิธี งานมงคลต่าง ๆ

ฆ้องโหม่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ มีขนาดใหญ่ รองลงมาจากฆ้องหุ่ย ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี



ภาพ : dream.kippo.com

ฉาบ เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่ มีขนาดใหญ่กว่าและหล่อบางกว่า มีสองขนาด ขนาดใหญ่กว่าเรียกว่า ฉาบใหญ่ ขนาดเล็กกว่า เรียกว่า ฉาบเล็ก การตีจะตีแบบประกบ และตีแบบเปิดให้เสียงต่างกัน



ภาพจาก : www.thaigoodview.com

ฉิ่ง เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ หล่อหนา รูปร่างกลม เว้ากลาง ปากผาย คล้ายฝาขนมครกไม่มีจุก สำรับหนึ่งมีสองฝาเจาะรูตรงกลางที่เว้า สำหรับร้อยเชือกโยงฝาทั้งสอง เพื่อสะดวกในการถือตี ฉิ่งมีสองขนาด ขนาดใหญ่ใช้ประกอบวงปีพาทย์ ขนาดเล็กใช้กับวงเครื่องสายและมโหรี

เครื่องตีที่ทำด้วยหนัง

กลอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี สำหรับใช้บอกสัญญาณ บอกจังหวะ และใช้ประกอบเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ทำด้วยไม้ ข้างในเป็นโพรง หน้าขึงด้วยหนังมีทั้งหน้าเดียวและสองหน้า การขึ้นหนังมีทั้งตรึงด้วยหมุด และโยงเร่งด้วยเส้นหนัง หวายหรือลวด การตีกลอง อาจใช้ตีด้วยฝ่ามือ และตีด้วยไม้สำหรับตี



ภาพจาก : www.dontrithai108.com

กลองแขก มีรูปร่างยาวเป็นกระบอก หน้าด้านหนึ่งใหญ่เรียกว่า “หน้ารุ่ย” หน้าด้านหนึ่งเล็กเรียกว่า “หน้าต่าน” หนังหน้ากลอง ทำด้วยหนังลูกวัว หนังแพะ ใช้เส้นหวายฝ่าชีกเป็นสายโยงเร่งให้ตึงด้วยรัดอก สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียกว่า “ตัวเมีย” การตี การตีใช้ฝ่ามือทั้งสอง ตีทั้งสองหน้าให้เสียงสอดสลับกันทั้งสองลูก กลองชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กลองชะวา”


กลองชนะ (คล้ายกลองมลายู แต่ตัวกลองสั้นกว่า)

ภาพจาก : www.bs.ac.th

กลองชนะ รูปร่างเหมือนกลองแขก แต่สั้นกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็ก ใช้ตีด้วยไม้งอ ๆ หรือหวาย ทางด้านหน้าใหญ่ เดิมกลองชนะน่าจะใช้ในกองทัพ หรือในการสงคราม ต่อมาใช้เป็นเครื่องประโคมในกระบวนพยุหยาตรา และใช้ประโคม พระบรมศพ พระศพ และศพ ตามเกียรติยศของงาน จำนวนที่ใช้บรรเลง มีตั้งแต่ ๑ คู่ ขึ้นไป



ภาพจาก : www1.tv5.co.th

กลองชาตรี มีรูปร่างลักษณะและการตีเช่นเดียวกับกลองทัด แต่ขนาดเล็กกว่ากลองทัดประมาณครึ่งหนึ่ง ขึ้นหนังสองหน้า ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ในการแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า “ปีพาทย์ชาตรี” ใช้เล่นคู่กับโทนชาตรี



ภาพจาก : don-tree-thai.blogspot.com

กลองต๊อก เป็นกลองจีนชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก หุ่นกลองหนา ขึ้นหนังสองหน้า หน้าทั้งสองมีขนาดเท่ากัน ตีหน้าเดียวโดยใช้ไม้ขนาดเล็ก

กลองตะโพน ใช้ตะโพนสองลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออก แล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีแบบกลองทัด ใช้ไม้นวมที่ใช้ตีระนาดเป็นไม้ตี



กลองทัด มีรูปทรงกระบอก กลางป่องออกเล็กน้อย ขึ้นหนังสองหน้า ตรึงด้วยหมุดที่เรียกว่า “แส้” ซึ่งทำด้วยไม้ งาช้าง กระดูกสัตว์ หรือโลหะ หน้ากลองด้านหนึ่งติดข้าวตะโพน แล้วตีอีกด้านหนึ่ง ใช้ไม้ตีสองอัน สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียกว่า “ตัวเมีย” ตัวผู้อยู่ทางขวา และตัวเมียอยู่ทางซ้ายของผู้ตี กลองทัดน่าจะเป็นกลองของไทยมาแต่โบราณ ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงปีพาทย์มาจนถึงปัจจุบัน



กลองมลายู มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองแขก แต่สั้นและอ้วนกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็กขึ้นหนังสองหน้า เร่งให้ตึงด้วยหนังรูดให้แน่น สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง หน้าใหญ่อยู่ทางขวาไปตีด้วยไม้งอ หน้าเล็กตีด้วยฝ่ามือ สำรับหนึ่งมีสีลูก ต่อมาลดเหลือสองลูก ใช้บรรเลงคู่ อย่างกลองแขกลูกเสียงสูงเรียกว่า “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียกว่า “ตัวเมีย” ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปีพาทย์นางหงส์



ภาพจาก : vi555.wordpress.com

กลองโมงครุ่ม มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองทัด แต่ใหญ่กว่า ขึ้นหนังสองหน้า ตรึงด้วยหมุด ตีหน้าเดียว โดยใช้ไม้ตี ใช้ตีในการเล่นสมัยโบราณที่เรียกว่า “โมงครุ่ม” หรือ “โหม่งครุ่ม” ซึ่งมักตีฆ้องโหม่งประกอบด้วย

กลองยาว หุ่นกลองทำด้วยไม้ ตอนหน้าใหญ่ ตอนท้ายเรียวแล้วบานปลายเป็นรูปดอกลำโพงมีหลายขนาด ขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลางนิยมตบแต่งให้สวยงามด้วยผ้าสี หรือผ้าดอกเย็บจีบย่น ปล่อยเชิงเป็นระบายห้อยมาปกด้วยกลอง มีสายสะพายสำหรับคล้องสะพายบ่า ใช้ตีด้วยฝ่ามือ แต่การเล่นโลดโผน อาจใช้ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายตีก็มี กลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า นิยมเล่นในงานพิธีขบวนแห่ กลองชนิดนี้เรียกชื่อตามเสียงที่ตีได้อีกชื่อหนึ่งว่า “กลองเถิดเทิง”

กลองสองหน้า ลักษณะคล้ายเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า ตีด้วยมือขวา ใช้ใบเดียวตีกำกับจังหวะในวงปีพาทย์ที่บรรเลงในการขับเสภา



ภาพจาก : www.somchaidontrithai.com

ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า “หุ่น” ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรงกลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า “หน้าเทิ่ง” หรือ “หน้าเท่ง” ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า “หน้ามัด” ใช้สายหนังเรียกว่า “หนังเรียด” โยงเร่งเสียงระหว่างหน้าทั้งสอง ตรงรอบ ขอบหนังขึ้นหน้าทั้งสองข้าง ถักด้วยหนังตีเกลียวเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า “ไส้ละมาน” สำหรับใช้ร้อยหนังเรียด โยงไปโดยรอบจนหุ้มไม้หุ่นไว้หมด ตอนกลางหุ่นใช้หนังเรียดพันโดยรอบเรียกว่า “รัดอก” หัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าที่ทำด้วยไม้ ใช้ฝ่ามือซ้าย-ขวา ตี ทั้สองหน้า
ตะโพนใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงปีพาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ ผู้ที่นับถือพระประคนธรรพ ว่าเป็นครูใหญ่ทางดนตรี ได้ถือเอาตะโพนเป็นเครื่องแทนพระประคนธรรพในพิธีไหว้ครู และถือว่าตะโพนเป็นเครื่องควบคุมจังหวะที่สำคัญที่สุด

ตะโพนมอญ คล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า มีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า “เมิกโนด” หน้าเล็กเรียกว่า “เมิกโด้ด” เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ กำกับจังหวะต่าง ๆ

เครื่องเป่า

เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก
ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ และขลุ่ยอู้ ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้
เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น
ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้
รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป
รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย
รูเยื่อ เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ
รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่างเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน
รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ เสียงขลุ่ยเกิดจากเป่าลม และใช้นิ้วมือปิดเปิดรูบังคับเสียง



ภาพจาก : www1.tv5.co.th

ขลุ่ยกรวด มีขนาดเล็กกว่า ขลุ่ยเพียงออ ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า ระดับเสียงของขลุ่ยเพียงอออยู่ ๑ เสียง



ภาพจาก : bigthaimusic.blogspot.com

ขลุ่ยนก เป็นขลุ่ยพิเศษ ทำขึ้นเพื่อ เสียงสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนก ใช้บรรเลง ประกอบในวงดนตรี เพื่อให้เกิดจินตนาการ ในการฟังเพลงได้ดียิ่งขึ้น บางครั้งยังใช้ ลิ้นปี่มาประกอบกับ ตัวขลุ่ยเพื่อเลียนเสียงไก่ ขลุ่ยพิเศษเหล่านี้นิยมใช้บรรเลง เพลงตับนก และตับภุมรินทร์

ขลุ่ยหลิบ เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีเสียงสูงแหลมเล็ก ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า เสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออขึ้นมา ๓ เสียง ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ หรือขลุ่ยกรวด มีอยู่สองชนิด คือ ขลุ่ยหลีบเพียงออ และขลุ่ยหลีบกรวด

ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ระดับเสียงต่ำสุด ต่ำกว่าระดับเสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออ ลงไปอีก ๒ เสียง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์



ปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ปกติ เลาปี่ ทำด้วยไม้แก่น ต่อมามีผู้คิดทำด้วยงา โดยกลึงให้เป็นรูปบานหัว และบานท้าย ช่วงกลางป่อง ภายในกลวง ทางหัวใส่ลิ้นเป็นช่องรูเล็ก ทางท้ายปากรูใหญ่ ใช้งา ชัน หรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมตอนหัว และตอนท้าย เรียกว่า “ทวน” ทางหัวเรียกว่า “ทวนบน” ทางท้ายเรียกว่า “ทวนล่าง” ช่วงที่ป่องกลาง เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียง เรียงลงมาตามข้างเลาปี่ จำนวน ๖ รู ที่รูเป่าตอนทวนบนใส่สิ้นสำหรับเป่าเรียกว่า ลิ้นปี่ ทำด้วยใบตาลซ้อน ๔ ชั้น ตัดกลมผูกติดกับท่อกลมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “กำพวด” ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเรียว วิธีผูกเชือกให้ลิ้นใบตาลติดกับกำพวดเรียกว่า “ผูกตะกรุดเบ็ด”



ภาพจาก : tminstrument.wordpress.com

ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า “เลาปี่” ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า “ลำโพง” ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ ไทยใช้ปี่ชนิดนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันใช้ในขบวนแห่ คู่กับปี่ชวา จ่าปีใช้เป่านำกลองชนะในกระบวนพยุหยาตรา

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย

เครื่อง วง ดนตรีไทย

รูป ภาพ เครื่องดนตรีไทย