วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

ทฤษฎี การอ่านโน้ตไทย



ทฤษฎี การอ่านโน้ตไทย
โดย
คุณครูอิสรินทร์ ทาส่วย
โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล
 

 
โน้ตดนตรีไทย
ทฤษฎีการอ่านโน้ต
วิธีการอ่านโน้ตลายดนตรีพื้นเมืองอีสาน
องค์ประกอบของโน้ต
การใช้สัญลักษณ์เพื่อบันทึกเสียงดนตรี ไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรมใดก็ตามไม่สามารถที่จะใช้แทนในทุกลีลาของดนตรี
ได้ครบทุกกระบวนความ อย่างไรก็ตามไม่ว่าการบันทึกโน้ตของดนตรีแต่ละวัฒนธรรมจะมีการกำหนด
กฏเกณฑ์มากน้อยต่างกันเพียงใดก็ตาม สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงมักจะประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
1. สัญลักษณ์แทนความสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch)
2. สัญลักษณ์แทนความสั้นยาวของเสียง (Duration)
3. สัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ
1. สัญลักษณะแทนความสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch) ระดับความสูง-ต่ำของเสียงนับเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างทำนองดนตรี ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับเสียงอาศัยระดับความสูง-ต่ำ ของบรรทัด 5 เส้นเป็นตัวกำหนด สำหรับระบบโน้ตในดนตรีพื้นเมืองอีสาน หรือ ดนตรีไทย สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับความสูง-ต่ำ ของเสียงถูกกำหนดโดยตัวอักษรจำนวน 7 ตัว และสัญลักษณ์การแทนเสียงสูงต่ำ โดยมี จุด (.) ข้างล่างตัวอักษร เป็นเสียงต่ำ ส่วนมีจุด (.) ข้างบนตัวอักษร เป็นเสียงสูง ดังแสดงตารางดังนี้
เสียงต่ำ
เสียงธรรมดา
เสียงสูง
ดฺ ย่อมมาจาก โด (ต่ำ)
ย่อมาจาก โด
ดํ ย่อมาจาก โด (สูง)
รฺ ย่อมาจาก เร (ต่ำ)
ย่อมาจาก เร
รํ ย่อมาจาก เร (สูง)
มฺ ย่อมาจาก มี (ต่ำ)
ย่อมาจาก มี
มํ
ฟฺ ย่อมาจาก ฟา (ต่ำ)
ย่อมาจาก ฟา
ฟํ
ฺซฺ ย่อมาจาก ซอล (ต่ำ)
ย่อมาจาก ซอล
ซํ
ฺลฺ ย่อมาจาก ลา (ต่ำ)
ย่อมาจาก ลา
ลํ
ฺทฺ ย่อมาจาก ที (ต่ำ)
ย่อมาจาก ที
ทํ

ถึงแม้ว่าชื่อประจำระดับเสียงโน้ตๆ ที่เลียนแบบมาจากระบบโน้ตดนตรีสากลก็ตาม ขอให้เข้าใจว่าชื่อเรียกระดับเสียงต่างๆ ในดนตรีพื้นเมืองอีสาน ดนตรีไทย และดนตรีสากล
ที่เหมือนกันนั้น มีระดับความสูง-ต่ำ ของเสียงและขั้นคู่เสียงไม่เท่ากัน จากการที่มีระดับเสียงสูง-ต่ำ ของเสียงที่เกิดจากการใช้สัญลักษณ์นั้น ไม่สามารถมองเห็นเป็นภาพความสูง-ต่ำลดหลั่งกันเหมือนเช่นในระบบโน้ตดนตรีสากล ดังนั้นในการฝึกระดับเสียงของดนตรีพื้นเมืองอีสานในระยะเริ่มต้นอาจมีความยากอยู่บ้าง เพื่อให้สามารถทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับระดับความสูง-ต่ำของเสียงอาจใช้กระบวนการ
การฝึกหัดไล่บันไดเสียง โดยการนำอักษรแทนระดับเสียงต่างๆ ใส่ลงบนขั้นบันได ดังรูปภาพนี้
 
2. สัญลักษณ์แทนความสั้น-ยาวของเสียง ความสั้น-ยาวของเสียงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการกำหนดลีลาจังหวะในดนตรีตะวันตก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความสั้น-ยาว สังเกตได้จากลักษณะที่แตกต่างกันของตัวโน้ต เช่น ตัวกลม ตัวขาว ตัวเขบ็ด (0 0 0 ) เป็นต้น
ระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย มีสัญลักษณ์ที่ตรงกันข้ามกับระบบโน้ตสากล คือ อัตราจังหวะความสั้น-ยาว ของเสียงในระบบโน้ตสากลขึ้นอยู่กับลักษณะที่แตกต่างกันของโน้ตเป็นสำคัญ ในขณะที่ตัวโน้ตตามระบบดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย ไม่สามารถแทนค่าความสั้น-ยาวของเสียงได้ อัตราความสั้น-ยาวระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานจะเกิดได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ ห้องเพลง และการจัดเรียงโน้ต
2.1 ห้องเพลง ห้องเพลงในระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือดนตรีไทย ทำหน้าที่เช่นเดียวกับจังหวะเคาะ (Beat) โดยจะมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในอัตราช้า-เร็วอย่างสม่ำเสมอ ทุกบรรทัดที่ใช้บันทึกโน้ตจะประกอบด้วย 8 ห้องเพลง โดยตำแหน่งของจังหวะเคาะจะอยู่ที่ส่วนท้ายสุดของตัวโน้ตในแต่ละห้องเพลง ดังนี้
1
2
3
4
5
6
7
8

2.2 การจัดเรียงตัวโน้ต เนื่องจากสัญลักษณ์ตัวอักษร ด ร ม ฟ ซ ล ท ไม่สามารถแยกแยะอัตราความสั้น-ยาวของเสียงที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการจัดเรียงตัวโน้ต ตามหลักการพื้นฐานของการจัดเรียงตัวโน้ต ในแต่ละห้องเพลง จะบรรจุไปด้วยหน่วยเคาะย่อยเท่ากับ 4 หน่วยเคาะย่อย ดังนี้
1234
1234
1234
1234
1234
1234
1234
1234
ในการบันทึกตามระบบตัวโน้ตของดนตรีพื้นเมืองอีสาน โน้ตอักษร ด ร ม ฟ…..แต่ละตัวและเครื่องหมาย – (ลบ) แต่ละอันมีความยาวเท่ากันบ 1 จังหวะเคาะย่อยเท่ากันหมด เช่น
-- เท่ากับ -
-ด เท่ากับ รด
--ด เท่ากับ -รด
-ด เท่ากับ -มด
--ด เท่ากับ -มรด
สัญลักษณ์ –(ลบ) แต่ละอันเมื่อปรากฏต่อท้ายตัวอักษรตัวใดแล้ว จะสามารถยืดเสียงของโน้ตตัวนั้นให้ยาวออกไปอีกอันละ 1 หน่วยเคาะย่อย เช่น
/---/---/--/
มี---ซอล----ลา---ซอล---ลา
1234/1234/12/121/
1. มีความยาวเท่ากับ 4 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยตัวอักษร ม (มี) หนึ่งเคาะย่อย และ สัญลักษณ์ – (ลบ) อีก 3 เคาะย่อย
2. มีความยาวเท่ากับ 21
3. มีความยาวเท่ากับ 2 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยโน้ตอักษร ล (ลา) หนึ่งเคาะย่อย และสัญลักษณ์ – (ลบ) อีก 1 เคาะย่อย
4. มีความยาวเท่ากับ 3
5. มีความยาวเท่ากับ 1 เคาะย่อย ซึ่งเป็นอัตราความยาวของตัวอักษร ล (ลา)
การบันทึกเพลง สัญลักษณ์อักษรที่ใช้แทนเสียงโน้ต ด ร ม ….. และสัญลักษณ์ยืดเสียง – (ลบ) จะสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งกันไปมาตามท่วงทำนองของเพลง ดังนั้นการเรียงโน้ตจึงสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ ตามตัวอย่างที่ยกมานี้

กรณีมีโน้ตห้องละ 1 ตัง
/--- / --- / --- / --- /
กรณีมีโน้ตห้องละ 2 ตัว
/ -- / -- / -- / --/
กรณีมีโน้ตห้องละ 3 ตัว
/ -มซม / -ดมร / -มซด / -ลลล /
กรณีมีโน้ตห้องละ 4 ตัว
/ ซลดร / มรดล / ชลดร / รรรร /
กรณีที่มีการผสมผสานกันหลายรูปแบบ
----
--
--
--
-ลฺลฺลฺ
--
--
--
-ลฺลฺลฺ
--
--
--
-ลฺลฺลฺ
--
--
--
---
--
รดรมฺ
-ซฺ-ลฺ
---
--
รดรมฺ
-ซฺ-ลฺ



 

 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น