วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย (ขลุ่ยเพียงออ)



การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย (ขลุ่ยเพียงออ)
โดย
คุณครูอิสรินทร์  ทาส่วย
โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล

 



บทที่1 ความรู้เกี่ยวกับขลุ่ยไทย

ขลุ่ยไทย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย แต่เดิมทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้อ ย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ไหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม ปัจจุบันอาจทำจากไม้จริงเนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน แก่นไม้พญางิ้วดำ ไม้พะยูง ไม้ประดู่และงาช้าง ด้านหน้าเจาะรูกลมๆเรียงแถวกัน ๗ รู สำหรับนิ้วปิด เปิดเสียง เปลี่ยนระดับเสียง ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่ ใช้หลักการเกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบเล็กๆ โดยใช้ไม้อุดเกือบเต็มปล้อง แล้วเจาะรูด้านล่างให้มีช่องลมก็จะเกิดเสียงขึ้นมาเสียงขลุ่ยจะให้เสียงที่ใส สะอาด แฝงความนุ่มนวลอยู่ในที ให้อารมณ์ที่ซาบซึ้ง โศกเศร้า โหยหวนได้ดี ใช้บรรเลงเดี่ยวก็ไพเราะ หรือใช้ประสมวงดนตรีไทยก็เดินทำนองและล้อเสียงร้องได้ดี แม้แต่นำไปประสมกับวงดนตรีสากล ก็สร้างสีสันให้กับบทเพลงได้เป้นอย่างดี ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีไทยที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก พกสะดวก เป่าให้เกิดเสียงได้ง่าย นำออกมาฝึกง่าย ไม่ต้องมีการตั้งระดับเสียง เก็บรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย จึงเหมาะกับการนำมาฝึกกับนักเรียนหมู่มากในชั้นเรียน นักเรียนสามารถซื้อไว้เป็นของตนเองนำติดตัวและฝึกซ้อมได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง

บทที่2 ประเภทของขลุ่ยไทย
การแบ่งประเภทขลุ่ยไทย
ขลุ่ยไทยที่ใช้บรรเลงเดินทำนองได้ ประสมวงในวงดนตรีไทย มี ๓ ประเภท โดยแบ่งตามขนาดของขลุ่ย มีชื่อเรียกดังนี้
๑ ขลุ่ยหลิบ เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีเสียงสูงแหลมเล็ก ระดับเสียงต่ำสุด(โด) สูงกว่า เสียงต่ำ
สุดของขลุ่ยเพียงออขึ้นมา ๓ เสียง (เท่ากับเสียง เร ในระดับเสียงสากล)ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ
๒ ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยไทยที่มีขนาดกลาง มีเสียงที่เป็นมาตรฐานใช้สำหรับเป็นเสียงหลักในการเทียบหรือตั้งเสียงของเครื่องดนตรีทั้งวง เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาดเช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D,ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น
๓ ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยไทยที่มีขนาดใหญ่ เสียงทุ้มต่ำ เสียงโด ต่ำสุดของขลุ่ยอู้ จะเทียบเท่าเสียง ซอล ในระดับเสียงทางดนตรีสากล (ขลุ่ยคีย์ G) ไม่ค่อยนิยมนำมาบรรเลงทั่วไป แต่เดิมใช้บรรเลงใน
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์
ขลุ่ยไทย ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน จะเห็นอยู่ ๓ ขนาด คือ ขลุ่ยหลิบ(ขลุ่ยคีย์ D) ขลุ่ยเพียงออ (ขลุ่ยคีย์Bb) และขลุ่ยเพียงออออร์แกนหรือขลุ่ยกรวด(ขลุ่ยคีย์ C)

บทที่3 ส่วนประกอบของขลุ่ยไทย

ส่วนประกอบและลักษณะของขลุ่ยไทย
ขลุ่ยไทย ไม่ว่าจะเป็นขนาดใด เล็กหรือใหญ่ จะมีโครงสร้างและองค์ประกอบเหมือนกันหมด มีลักษณะและรูปร่างเหมือนกัน จะใช้ขนาดเป็นตัวทำให้เสียงสูงหรือต่ำ มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นทั่วไปมาทำ มีส่วนประกอบดังนี้
๑ เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น
๒ ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้น ให้เป่าลมผ่านไปได้ นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งเพราะเป็นจุดที่ทำไให้เกิดเสียงขึ้นมา
๓ รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป อยู่ด้านบนของขลุ่ย
๔ รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับ
รูเป่าอยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะทะลุตรงเหมือนด้านบนรูปากนกแก้วนี้สำคัญมากต้องทำให้มีขนาดพอดีโดยผู้ที่มีความชำนาญเพราะทำให้เสียงไพเราะ
๕ รูเยื่อ เป็นรูสำหรับเอาวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้วมาปิด มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ บางช่างที่ทำมาในปัจจุบันอาจไม่เจาะรูเยื่อก็ได้
๖ รูค้ำหรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่างเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
๗ รูบังคับเสียง หรือรูเปลี่ยนระดับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน สำหรับใช้นิ้ว ปิด เปิดเปลี่ยนระดับเสียงต่างๆ ซึ่งรูทั้ง ๗ นี้ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญเจาะทำขนาดต้องได้พอดี ระยะห่างของแต่ละรุต้องได้ตามที่กำหนดเพราะไปมีผลต่อความเที่ยงตรงของเสียงแต่ละเสียงที่ออกมา
๘ รูตั้งเสียง มี ๒ รูเจาะทะลุบน ล่าง อยู่ใกล้ส่วนปลายของเลาขลุ่ย สำหรับตั้งระดับเสียงของขลุ่ยทั้งเลา
๙ รูร้อยเชือก มี ๒ รู อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุ ซ้าย-ขวา ให้เป็นรูที่ใช้ตั้งระดับเสียงและร้อยเชือกสำหรับแขวนเก็บ


การเลือกซื้อขลุ่ย
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีนั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทใดก็ตาม ผู้ฝึกควรหาทางได้เครื่องดนตรีชิ้นนั้นมาเป็นของตัวเองให้ได้ เพราะจะทำให้เกิดความรักความผูกพัน และการฝึกปฏิบัติจะได้ผลดีตามขึ้นมาด้วย โดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่จะต้องใช้ปากเป่า อมกำพวด หรืออมเครื่องแล้วใช้เป่าลมด้วยแล้ว ยิ่งเป็นเครื่องส่วนตัวไม่ควรใช้ด้วยกัน สำหรับขลุ่ยไทยนั้นผู้ฝึกควรหาซื้อไว้เป็นของตัวเอง เพราะว่าราคาไม่แพงมากนัก ขนาดเล็ก สามารถพกพาได้ตลอด อีกทั้งยังถือได้ว่า เป็นเครื่องดนตรีประจำตัว นำออกมาบรรเลงได้ตลอดเวลาเมื่ออารมณ์อันสุนทรีย์เกิดขึ้น ควรเลือกซื้อขลุ่ยเพียงออ
ในการเลือกซื้อขลุ่ยเพียงออ มาเป็นสมบัติส่วนตัวสัก 1 เลานั้น สามารถซื้อได้ตามร้านขายเครื่องดนตรี หรือร้านขายเครื่องใช้ของนักเรียนโดยทั่วไป ก่อนอื่นก็ต้องทราบว่า เราต้องการขลุ่ยเพียงออ ในราคาประมาณเท่าใด จากนั้นก็เลือกเอาตามกำลังเงินของแต่ละคน แต่ถ้าฝึกพร้อมกันหลายๆเลาควรสั่งซื้อจากที่เดียวกัน ขนาดเดียวกันราคาเดียวกัน เพราะจะได้คุณภาพของขลุ่ยใกล้เคียงกัน ราคาถูกกว่าปกติ
ถ้าเป็นขลุ่ยทีทำด้วยไม้ไผ่ หรือ พลาสติก ราคาจะอยู่ระหว่าง ๕๐ ๒๐๐ บาท ส่วนที่ทำด้วยไม้จริงจำพวกไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้พยุง ราคาจะแพง ประมาณ ๘๐๐ ,๐๐๐ บาทต่อ ๑ เลา
การเลือกซื้อ เราสามารถถอดออกมาทดลองเป่าได้ โดยให้ปิดรูหมดทุกรู แล้วทดลองเป่าเบา ๆ จนออกมาเป็นเสียง โดต่ำ ที่ไม่ออกเสียงหวีด หรือ เสียงสูง พุดง่ายคือเป่าเสียง โดต่ำ ได้ง่ายดีหรือไม่ เพราะ ระดับเสียงสูงเป่าได้ง่ายกว่าเสียงต่ำ จากนั้นก็พิจารณาดูความละเอียดในการทำว่า ละเอียดดีหรือไม่ ที่สำคัญที่สุด คือ ตรงปากเป่าที่ ดากที่เป็นตัวประกอบให้ดูว่าสนิทกันดีหรือไม่ จากนั้นก็ลองชั่ง
น้ำหนักดูว่าหนักไหม ควรเลือกตัวทีมีน้ำหนักมากกว่า เพราะแสดงให้เห็นว่าใช้วัสดุที่ดีกว่า มีความหนาแน่นมากกว่า

บทที่4 เตรียมความพร้อมของร่างกาย
การใช้ลมเป่าขลุ่ย

๒.๑ การหายใจ
การบรรเลงเครื่องดนตรีที่ใช้ลมเป่า การใช้ลมและฝึกการใช้ลมจะมีหลักการเดียวกัน คือหายใจเข้าเก็บลมไว้เอาไว้ใช้ให้ได้นานๆ ใช้อวัยวะที่เกี่ยวกับการหายใจและในช่องปากควบคุมลม เพราะลมที่ใช้เป่าขลุ่ยนั้นจะมีหลายรูปแบบตามตัวโน้ตและจินตนาการของผู้เป่าเอง มีทั้งเป่ายาวๆนานาๆ ให้โหยหวนหรือเป่าสั้นๆ ถี่ๆ เร็วๆ กระแทกแรงๆ หรือพลิ้วหวานเบาๆ เป็นต้น ดังนั้นการเป่าขลุ่ยจึงเริ่มที่การหายใจเข้าเพื่อเก็บลม
การหายใจต้องฝึกเป็นประจำด้วย คือหายใจเอาลมเข้าไปในท้องให้ท้องพองขึ้นมา เก็บลมไว้ให้นานแล้วค่อยผ่อนออกมา ในขณะเป่าการหายใจอย่างเร็วควรหายใจทางปากเหมือนนักกีฬา ถึงจะมีลมเอามาใช้เป่าทัน ส่วนวิธีฝึกผ่อนลม หรือระบายลมให้ได้นานๆนั้น ให้เป่าลมลงในหลอดดูดน้ำให้น้ำในแก้วมีฟองอากาศผุดออกมาตลอดเวลา ขณะเป่าลมออกก็ให้ฝึกหายใจทางจมูกไปพร้อมกันด้วย ผู้ที่ฝึกจนชำนาญแล้ว เราจะได้ยินเสียงขลุ่ยดังอยู่ตลอดเวลาคล้ายๆเขาไม่ได้หยุดหายใจเลย เรียกการเป่าในลักษณะนี้ว่าการเป่าแบบ ระบายลม
๒.๒ ลมที่ใช้เป่าขลุ่ย
ลมที่ใช้เป่าขลุ่ยจะมาจากท้อง ผ่านลำคอแล้วใช้อวัยวะภายในปากบังคบลมตามลักษณะโน้ตหรือเสียงที่ต้องการเป่า เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม เป็นต้น มีลักษณะการควบการเป่าเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการดังนี้
ลมปลายลิ้น ใช้ปลายลิ้นบังคับลมให้เสียงขลุ่ยพลิ้วแทนการพรมนิ้ว (การใช้นิ้วเปิดปิดสลับกันถี่ๆ)
ลมปริบ ใช้ปลายลิ้นบังคับลมประกอบกับการใช้นิ้วเพื่อให้เกิดเสียงพิสดาร ใช้สอดแทรกเพื่อให้การดำเนินทำนองเกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น
ลมโปรย ใช้ลมและนิ้วบังคับทำให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบา หรือเบาไปหนัก ณ เสียงใดเสียงหนึ่ง
ลมแฝก เป็นการรวมสองเสียงเข้าด้วยกัน เช่น ถ้าต้องการเสียง มีก็เปิดนิ้วที่จะทำให้เกิดเสียง ฟาด้วยเล็กน้อย แต่ลมที่เป่าจะต้องใช้น้อยกว่าเสียง มี ธรรมดา ทำให้เกิดความไพเราะมากขึ้น หรือการทำให้เกิดครึ่งเสียงนั่นเอง เสียงของขลุ่ยไทยแต่ละเสียงจะห่างกันหนึ่งเสียง บางเสียงของขลุ่ยผู้เป่าสามารถเป่าเสียงครึ่งได้ เช่นเดียวกับเสียงครึ่งของดนตรีสากล อาจใช้ในเพลงเดี่ยว หรือเพลงหมู่ ทำให้เกิดความไพเราะมากขึ้น
ลมโหยหวน ใช้ลมและนิ้วบังคับทำให้เกิดเสียงต่อเนื่องระหว่างเสียง ๒ เสียง โดยทั่วไปนิยมทำเสียงคู่สาม - คู่ห้า อันเป็นคู่เสียงที่มีความกลมกลืนกันมากที่สุด ทำได้ทั้งจากต่ำไปหาสูงและจากสูงไปหาต่ำจากต่ำไปหาสูงเรียกว่าโหยจากสูงไปหาต่ำเรียกว่าหวน
ลมกระพุ้งแก้ม ใช้กระพุ้งแก้มบังคับลมเข้าไปในขลุ่ยใช้ในตอนระบายลม
เสียงครั่น เป็นการบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วง ๆ ตามความถี่หรือห่างที่ต้องการทำให้เกิดเสียงคล้ายคลื่นสามารถทำได้ทุกเสียงตามอารมณ์ของเพลง
เสียงเลียน เป็นการทำเสียงโดยใช้นิ้วต่างกัน แต่ให้เป็นเสียงเดียวซึ่งสามารถทำได้เกือบทุกเสียง ใช้เมื่อทำนองเพลงช่วงนั้นมีเสียงยาว ทำโดยเป่าเสียงจริงก่อน แล้วจึงเป่าเสียงเลียน และกลับมาเป่าเสียงจริงเมื่อหมดจังหวะหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่านิ้วควง
การชะงักลม การบรรเลงเพลงบางช่วง ต้องมีการชะงักลม คือหยุดเล็กน้อยจะทำให้เกิดความไพเราะมากขึ้น
๒.๓ มารยาทในการเป่าขลุ่ย
สิ่งที่ผู้ฝึกเป่าขลุ่ยใหม่ๆควรระลึกถึงตลอดเวลา คือ เรายังเป่าไม่เพราะ และเสียงขลุ่ยแม้ดูเหมือนว่าจะดังไม่แรงแต่ดังได้แบบชอนไชรูหูไก้ลึกซึ้งมาก เพราะเป็นเสียงที่ความถี่สูง ดังนั้นให้พึงระวังการไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่นด้วย การเล่นเครื่องดนตรีของไทยทุกชนิด นักดนตรีต้องสำรวมกิริยามารยาท ปฎิบัติให้เรียบร้อยให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์ เครื่องดนตรี ผู้ฟัง ตลอดจนนักดนตรีด้วยกันเอง การนั่งเป่าขลุ่ยต้องนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมเดินสะดวก ถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ
การจะเป็นนักดนตรีที่ดีจะต้องมีผีมือและจรรยาประกอบกันไป นักดนตรีปัจจุบันนี้ฝีมือสู้ในอดีตไม่ได้ต่างคนจะแข่งขันเอาความเก่งในการเล่น ไม่เอาความไพเราะ และส่วนมากยังขาดจรรยา ต่างวงมาพบกันเป็นต้องแสดงท่าเข้าหากันเสมอ เนื่องจากคิดว่าตัวเองเก่ง ต่อเพลงมาอย่างดีแล้ว ซึ่งนักดนตรีไทยเราไม่ควรคิดอย่างนั้นเลย เพราะการศึกษาความรู้นั้นไม่มีใครที่จะรู้ได้สิ้นสุด ขอเพียงแต่ศึกษาอย่างถูกทาง ก็ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแล้ว
๒.๔ การดูแลรักษาขลุ่ย
ขลุ่ยถ้าทิ้งไว้นาน ๆ จะแห้ง ดาก จะหดตัวลง ทำให้เป่าเสียงไม่ใส การที่จะให้ขลุ่ยเสียงดี ให้นำขลุ่ยแช่น้ำผึ้งให้ท่วมปากนกแก้ว น้ำผึ้งจะช่วยให้ขลุ่ยชุ่มอยู่เสมอและขยายตัว ไม่มีช่องที่ลมจะรั่วได้ หรืออีกวิธีหนึ่งทำโดย นำขลุ่ยไปแช่ในน้ำตาลสดหรือน้ำตาลเมาหลาย ๆ วัน จะทำให้เนื้อไม้อยู่ตัว มอดไม่ รบกวน นอกจากนี้ควรระวังด้านอื่น ๆ คืออย่าให้ถูกความร้อนนาน ๆ ไม่ควรเอาไม้หรือวัสดุอื่นแหย่เข้าไปใน ปากนกแก้ว เพราะอาจทำให้แง่ของดากภายในบิ่น เสียงจะเสียไปได้
ขณะเล่นการเป่าขลุ่ยควรให้เสียงนุ่มนวล ถ้าเป่าเสียงสูงอย่าเป่าแรงเกิดไปจะทำให้ช่วงเสียงสูงของ ขลุ่ยเสียได้ ส่วนปากเป่าหรือรูเป่าเป็นส่วนที่สกปรกได้ง่ายมากพยายามรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพของผู้เป่าด้วย ใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดผิวด้านนอก เมื่อสกปรกมากให้ล้างด้วยน้ำสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง
ถ้าช่องลมเต็มไปด้วยฝ้าไอน้ำ ใช้วิธีเอาออก โดยปิดรูปากนกแก้ว เพื่อให้ให้มีเสียงแล้วเป่าแรง ๆ ไม้ควรใช้วิธีสั่นหรือสะบัด ถ้ามีละอองไอน้ำเยอะมากเนื่องจากความเย็นให้เป่าลมหายใจอุ่น ๆ ผ่าน วิธีแก้คือ ทำเครื่องดนตรีให้อุ่นก่อน โดยใช้ความร้อนจากนิ้วมือไว้สักระยะหนึ่ง การอบอุ่นนี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้ไม้เกิดรอยแตกได้อีกด้วย
หลังจากเป่าขลุ่ยแล้วทุกครั้งให้ทำความสะอาดทั้งด้านใน ด้านนอก แล้วเช็ดให้แห้งแล้วเก็บใส่ซองหรือถุงเก็บ ขณะที่ไม่ได้ใช้ให้เก็บในที่เก็บ อย่าไว้ในที่ร้อนหรือผึ่งแดด หรือที่ ๆ มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกะทันหันจงปฏิบัติต่อ ขลุ่ยด้วยความระมัดระวังและทะนุถนอม เช่นเดียวกับการปฏิบัติกับเครื่องดนตรีอื่น

เสียงขลุ่ย และวิธีเป่าขลุ่ย

เสียงต้อ เสียงแหบ และเสียงควง

เสียงต้อ หรือเสียงธรรมดา คือ เสียงที่เกิดจากการเป่าขลุ่ยด้วยลมธรรมดา เป่าได้ 8 เสียง ดังนี้

โน้ต
นิ้ว
ดํ
ชี้
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
โป้ง
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
¡
กลาง
˜
˜
˜
˜
˜
˜
¡
¡
นาง
˜
˜
˜
˜
˜
¡
¡
¡
ชี้
˜
˜
˜
˜
¡
¡
¡
¡
กลาง
˜
˜
˜
¡
¡
¡
¡
¡
นาง
˜
˜
¡
¡
¡
¡
¡
¡
ก้อย
˜
¡
¡
¡
¡
¡
¡
¡

ตาราง แสดงการปิด เปิดนิ้ว ในเสียงต้อ หรือเสียงธรรมดา

เสียงแหบ หรือเสียงสูง คือ เสียงที่เกิดจาการเป่าขลุ่ยด้วย ลมแรง กว่าลมธรรมดา โดยที่ตำแหน่งของนิ้วต่าง ๆ อยู่เหมือนกับการเป่าเสียงต้อ

สำหรับการเป่าเสียงแหบนั้น ส่วนใหญ่จะเป่ากันแค่เสียงซอลสูง หรือเสียงลาสูงเท่านั้น สำหรับเสียงโดสูงนั้น เป่าได้ 2 แบบ คือ ปิดรูทั้งหมดแล้วเป่าด้วยลมแรง และแบบเปิดรูค้ำ ก็จะได้เสียงโดสูงหรือจากเสียงแหบนั้นเอง

เสียงควง คือ เสียงโน้ตตัวเดียวกันและ อยู่ในระดับเดียวกันแต่นิ้วต่างกัน เลยทำให้สำเนียงต่างกัน ถ้าเป็นโน้ตตัวเดียวกันแต่สูงต่ำเป็นคู่แปด อย่างนี้ก็ไม่ใช่เสียงควงเพราะไม่ได้เป็นเสียงที่อยู่ระดับเดียวกัน เสียงควงนี้จะต้องเล่นเป็นคู่อย่างน้อย 1 คู่ คือ ปิดเปิดนิ้วอย่างธรรมดาครั้งหนึ่ง กับเปิดปิดนิ้วพิเศษ ทำให้เกิดเป็นเสียงคู่ หรือเสียงควงอีกครั้ง หนึ่ง (อุทิศ นาคสวัสดิ์,2525:13-14) การเป่าเสียงควงนั้นมีวิธีการเป่าดังนี้

เสียง ฟา() บนปิดหมดทุกนิ้ว เปิดแต่นิ้วชี้ล่าง

เสียง ซอล() เปิดนิ้วก้อยล่าง 1นิ้วกับเปิดนิ้วนางบน 1 นิ้ว

นอกจากนั้นปิดหมด เป่าลมธรรมดา

เสียง ลา() เปิดนิ้วล่าง 2 นิ้วกับเปิดนิ้วกลางบน 1 นิ้ว นอกนั้นปิด

หมด เป่าลมธรรมดา

เสียง ที () ปิดนิ้วชี้ นิ้วกลางกับนิ้วนางบน นอกนั้นเปิดหมดเป่าลม

ธรรมดา

เสียง โด(ดํ) ปิดนิ้วชี้ล่าง กับนิ้วนางและนิ้วกลางบนนอกนั้นปิดหมด

เป่าลมธรรมดา

นอกจากเสียงควงทั้ง 5 คู่เสียงนี้แล้ว ยังมีเสียงธรรมดา ที่ใช้นิ้วธรรมดาเหมือนกัน

ได้สำเนียงผิดกันอีก 2 คู่เสียง เรียกว่า เสียงเลียน มีวีธีการเป่าดังนี้

เสียง โด (ดํ) ปิดหมดทุกนิ้ว แต่เป่าด้วยลมแหบ

เสียง เร (รํ) เปิดนิ้วก้อยล่าง 1 นิ้ว เป่าด้วยลมแหบ

การอ่านโน้ตเพลงไทย

ในการเรียนดนตรีและการบรรเลงดนตรีไทย ปกติตั้งแต่สมัยโบราณมาไม่มีการใช้โน้ตจะใช้วิธีการจดจำบทเพลงต่างๆ และสื่อสารต่อกันโดยการบรรเลงเครื่องดนตรี หรือการใช้ปากท่องทำนอง หรือที่เรียกว่า การนอยเพลง ซึ่งจะทำให้นักดนตรีจดจำเพลงได้อย่างแม่นย่ำ หากลืมเพลงแล้วจะไม่สามารถทบทวนเพลงได้ง่ายนัก ปัจจุบันมีผู้รู้ทางดนตรีไทยหลายท่านได้คิดสัญลักษณ์แทนเสียง ซึ่งปัญญา รุ่งเรือง ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ของโน้ตเพลงไทยไว้ดังนี้

1. ตัวโน้ต ใช้ตัวอักษรโดยยืมเสียงของตัวโน้ตในดนตรีสากลมาใช้ (แต่ระดับเสียงและความห่างของเสียงไม่เท่ากัน) เพื่อความสะดวก และเขียนเป็นอักษรย่อดังนี้

ด ใช้แทนเสียง โด
ร ใช้แทนเสียง เร
ม ใช้แทนเสียง มี
ฟ ใช้แทนเสียง ฟา
ซ ใช้แทนเสียง ซอล
ล ใช้แทนเสียง ลา
ท ใช้แทนเสียง ที

ในกรณีที่เป็นเสียงสูง ก็จะใส่ จุด ไว้บนตัวโน้ต เช่น ดํ หมายถึง โด สูง ,

รํ หมายถึง เร สูง , มํ หมายถึง มี สูง เป็นต้น

ในกรณีที่เป็นเสียงต่ำ ก็จะใส่ จุด ไว้ใต้ตัวโน้ต เช่น ฟฺ หมายถึง ฟา ต่ำ ,

ซฺ หมายถึง ซอล ต่ำ , ลฺ หมายถึง ลา ต่ำ เป็นต้น

2. บรรทัดสำหรับเขียนโน้ต แบ่งออกเป็นช่องๆ บรรทัดละ 8 ช่อง แต่ละช่องเรียกว่า ห้อง ห้องแต่ละห้องจะบรรจุ ตัวโน้ต 4 ตัวซึ่งโน้ตแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะย่อย ดังตัวอย่าง


3. อัตราจังหวะ ตัวโน้ต ตามปกติโน้ต 1 ตัว เท่ากับ 1 จังหวะย่อย ถ้าจะให้อัตราจังหวะของตัวโน้ตยืดออกไปเป็น 2,3,4 จังหวะ หรือมากกว่านั้น จะใช้ขีด ( - ) ต่อท้ายตัวโน้ตตัวนั้น ขีดละ 1 จังหวะ ซึ่ง 1 ขีด มีค่า เท่ากับ 1 จังหวะย่อย เช่น

- มีค่า 2 จังหวะ

- - - มีค่า 4 จังหวะ

- - - - - - - มีค่า 8 จังหวะ

แบบฝึกหัดการอ่านโน้ต

แบบฝึกหัดที่ 1

-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ดํ

 

-
-
-
ดํ
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-

แบบฝึกหัดที่ 2

-
-
-
-
-
-
-
-
ดํ
-
ดํ
-
-
-
-
-
-
-

แบบฝึกหัดที่ 3

ดํ
ดํ
ดํ
ดํ

แบบฝึกหัดที่ 4

-
-
-
-
-
-
ดํ
-
ดํ
รํ
-
ดํ
รํ
มํ

 

-
มํ
รํ
ดํ
-
รํ
ดํ
-
ดํ
-
-
-
-
-

แบบฝึกหัดที่ 5

-
-
-
-
-
-
-
-

บทเพลงสำหรับฝึกเป่าขลุ่ย

เพลงมอญท่าอิฐ

-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ดํ
-
-
ดํ
-
-
-
-
-
-

 

-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-

 

-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
กลับต้น

เพลงแขกบรเทศชั้นเดียว

ท่อน ๑

-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-

ท่อน ๒

-
มํ
-
รํ
-
ดํ
-
-
-
ดํ
-
-
-
ดํ
-
-
-
-
-
-

เพลงเต้ยโขง

-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ดํ
-
-
-
-
-
-

 

-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ดํ
-
-
-
-
-
-

 

-
-
-
-
-
ซํ
-
มํ
-
-
-
รํ
-
ดํ
-
มํ
-
-
-
รํ
-
ซํ
-
มํ
-
-
-
รํ
-
ดํ
-

 

-
-
-
ดํ
-
รํ
-
มํ
-
รํ
-
ดํ
-
-
-
-
-
ดํ
-
รํ
-
มํ
-
รํ
-
ดํ
-
-

 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น