วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของดนตรีสากล



ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของดนตรีสากล
โดย
คุณครูอิสรินทร์ ทาส่วย
โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล
 


 
 

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล

การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มี

รูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้

การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)

1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)

2. สมัยโรมัน (Roman)

3. สมัยกลาง (The Middle Ages)

4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)

5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)

6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)

7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)

8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)

9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)

การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา




ยุคต่างๆของดนตรีสากล
นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้

1. Polyphonic Perio (ค.ศ. 1200-1650) ยุคนี้เป็นยุคแรก วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี


2. Baroque Period (ค.ศ. 1650-1750) ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์ มีมากขึ้น มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร (โอเปร่า) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ J.S. Bach และ G.H. Handen

3.Classical Period ( ค.ศ. 1750-1820 ) ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ HaydnGluck และMozart

4. Romantic Period ( ค.ศ. 1820-1900 ) ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย

5.Modern Period ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ ศาสนา โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์ ตามหลักวิชาการดนตรี ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์ เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง เมื่อประมาณ ค.ศ. 1000 สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ ตัวโน้ต ( Note ) นั่นเอง โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด เร มี นั้น เป็นคำสวดในภาษาละติน จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด

วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน






วิวัฒนาการของดนตรีสากล


ดนตรีสากล มีประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการที่ยาวนาน แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของชาติตะวันตกซึ่งเป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วโลก ในการศึกษาดนตรีสากล เพื่อความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก จึงจำเป็นจะต้องศึกษาวิวัฒนาการของดนตรีสากลในด้านต่างๆ ดังนี้

            วงดนตรีสากลยุคต่างๆ

            1.         ยุคกลาง (Middle Age) .. 500-1400

                        บทเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงร้องที่ใช้ในโบสถ์เพื่อสรรเสริญพระเจ้าเพียงอย่างเดียว โดยบางครั้งอาจเป็นการร้องสอดประสานกันบ้างประมาณ 2-3 แนวในปลายยุคและยังไม่พบการบรรเลงที่เป็นรูปแบบมาตรฐานอย่างเด่นชัด

            2.         ยุครีเนซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) .. 1400-1600

                        บทเพลงในยุคนี้เริ่มมีการผสมผสานระหว่างเพลงพื้นฐานกับเพลงที่ใช้ในโบสถ์ โดย
การนำเอาเทคนิคการประพันธ์เพลงพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้กับเพลงสวด ทำให้เกิดการนำเอาเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบในเพลงสวดที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ออร์แกน ฮาร์ฟซิคอร์ด เป็นต้น

            3.         ยุคบาโรก (Baroque) .. 1600-1750

                        เครื่องดนตรีได้รับการพัฒนาจึงทำให้นักดนตรีมีความสามารถในการบรรเลงอย่างมาก
จึงทำให้ยุคนี้มีประเภทการบรรเลงดนตรีที่หลากหลายมากขึ้น เช่น โซนาตาคอนแชร์โต โอเปรา เป็นต้น เริ่มมีการผสมวงออร์เคสตรา เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเพลงหรือโอเปรา (Opera) แต่ลักษณะการผสมวงของเครื่องดนตรียังไม่มีการกำหนดที่แน่นอน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายยังได้รับการพัฒนาอย่างมาก

            4.         ยุคคลาสสิก (The Classical Era) .. 1750-1820

                        เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่กำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือใหญ่ คือ วงเชมเบอร์มิวสิก และวงออร์เคสตราในการจัดวงออร์เคสตราใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี
วงออร์เคสตรา ในยุคนี้ถือได้ว่ามีรูปแบบที่ใช้เป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน

            5.         ยุคโรแมนติก (The Romantic Era) .. 1820-1900

                        ในยุคนี้ เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับการพัฒนารูปร่างจนสามารถบรรเลงด้วยวิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่หลากหลายได้เป็นอย่างดีในส่วนของการผสมวงออร์เคสตรา ยังคงใช้หลักการ ผสมวงออร์เคสตราตามยุคคลาสสิก และเพิ่มขนาดโดยการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีให้มีความยิ่งใหญ่ขึ้นเพื่อให้อารมณ์ของบทเพลงมีความหลากหลายและสามารถสื่อถึงผู้ฟังได้อย่างเด่นชัด
  6.         ยุคศตวรรษที่ 20 (.. 1900 - ปัจจุบัน)

 

 
รูปแบบดนตรีมีการผสมผสานรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งมีการนำเสียงจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องดนตรีด้วย และส่วนดนตรีในรูปแบบดนตรีคลาสสิกก็ยังคงใช้รูปแบบการผสมวงตามยุคคลาสสิก ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่จะเน้นที่รูปแบบการประพันธ์เพลงมากกว่า และในยุคนี้เริ่มมีวงดนตรีผสมผสานรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นรูปแบบวงดนตรีที่ผสมผสานระหว่างแอฟริกา ตะวันตก อเมริกาและยุโรป ที่เรียกว่า วงดนตรีแจ๊ส (Jazz) เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงมักประกอบด้วย ทรัมเป็ต คลาริเน็ต ทรอมโบน ทูบา และกลองประเภทต่างๆ เป็นต้น


            บทเพลงยุคต่างๆ

            1.         ยุคกลาง (Middle Age) .. 500-1400

                        บทเพลงที่ปรากฏในยุคนี้ คือ เพลงสวด (Chant) ซึ่งเป็นบทเพลงที่ใช้ในพิธีกรรม
เป็นบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า เนื้อหาของเพลงจะเป็นการสวดอ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า ภาษาที่ใช้บทเพลงร้องส่วนใหญ่ คือ ภาษาละติน ในระยะแรก เพลงสวดเป็นการร้องแนวเดียวไม่มีดนตรีประกอบ ไม่มีอัตราจังหวะ และจะใช้เสียงเอื้อนในการทำทำนองไปไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ต่อมาในระยะหลังๆ เริ่มพัฒนาการร้องให้มีแนวการร้องสองประสาน เป็นเพลงร้องสองแนว และเริ่มที่จะมีอัตราจังหวะที่แน่นอน จนกลายเป็น รูปแบบการร้องประสานเสียง ที่มากกว่า 2 แนวขึ้นไป

            2.         ยุครีเนซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) .. 1400-1600

                        ดนตรียังคงเป็นลักษณะสอดประสานทำนองโดยมีการล้อกันของแนวทำนองที่เหมือนกัน รูปแบบการประพันธ์เพลงมีมากขึ้น ในยุคนี้ยังเน้นการร้องเป็นพิเศษ สำหรับดนตรีคฤหัสถ์ (ดนตรีประชาชนทั่วไป) เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมักเป็นเพลงร้องประกอบดนตรี

            3.         ยุคบาโรก (Baroque) .. 1600-1750

                        บทเพลงบรรเลงมีความสำคัญเทียบเท่ากับบทเพลงร้อง เนื่องจากเครื่องดนตรีมีการพัฒนาทั้งรูปและเสียง รูปแบบการประพันธ์เพลงในยุคนี้มีการพัฒนาและปรับปรุงจนมีลักษณะเด่นชัด โดยเฉพาะคอนแชร์โต (Concerto) ตัวบทเพลงประชันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเดี่ยวกับวงดนตรีซึ่งแสดงความสามารถของผู้บรรเลงได้เป็นอย่างดี บทเพลง Concerto ที่ได้รับความนิยมคือ The Four Season ของวิวัลดี และยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของบทเพลงบรรเลงประเภทต่างๆ

            4.         ยุคคลาสสิก (The Classic Era) .. 1750-1820

                        เป็นยุคที่สำคัญมากของดนตรีตะวันตก เนื่องจากรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ
ประพันธ์เพลง การผสมวง หรือบทเพลงบรรเลงมีความเป็นแบบแผนอย่างมาก รูปแบบการ
ประพันธ์บทเพลงในยุคนี้ได้แก่ โซนาตา คอนแชร์โต ซิมโฟนี และการผสมวงได้แก่ วงเชมเบอร์- มิวสิก และออร์เคสตรา ทุกอย่างล้วนจัดให้มีมาตรฐานทั้งสิ้น นอกจากนี้ ละครร้องหรือโอเปรา (Opera) ก็ได้รับการพัฒนาจนได้รับความนิยมทั่วไป

            5.         ยุคโรแมนติก (The Romantic Era) .. 1820-1900

                        ยุคนี้เป็นยุคที่นำหลักการของยุคคลาสสิกมาใช้ผสมผสานกับการใส่อารมณ์ความรู้สึก
เข้าไปในบทเพลงทำให้บทเพลงมีความไพเราะ สง่างาม อ่อนหวาน ในขณะหนึ่งก็สะเทือนอารมณ์ของผู้ฟังได้เช่นกัน สำหรับวงออร์เคสตรา มีการเพิ่มขนาดของวงให้ใหญ่ขึ้น เพื่อความสมบูรณ์แบบของเสียงในวงดนตรี ยุคนี้ทำนองของบทเพลงเน้นแนวทำนองหลักและใช้การประสานเสียงเพื่อให้มีความไพเราะ บทเพลงที่นิยมในยุคนี้คือดนตรีบรรยายเรื่องราว คีตกวีที่สำคัญในยุคนี้คือ เบโธเฟน

            6.         ยุคศตวรรษที่ 20 (.. 1900-ปัจจุบัน)

                        ยุคนี้เป็นยุคเปลี่ยนแปลงดนตรีชาติตะวันตก มีการเน้นรูปแบบจังหวะมากขึ้น และ
บันไดเสียงเริ่มมีการใช้บันไดเสียง 12 เสียง หลักการในการประพันธ์บทเพลงมีความแตกต่างจากยุคก่อนนี้ เริ่มมีการประสานเสียงทำให้ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายหู เริ่มมีการทดลองทฤษฎีแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งทำให้กฎเกณฑ์ทางดนตรีมีความหลากหลาย ถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายตามที่ได้พบเห็นในปัจจุบัน


 


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น