วงดนตรี เครื่องดนตรี พื้นบ้านอีสาน
โดย
คุณครูอิสรินทร์ ทาส่วย
โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล
วงดนตรีพื้นบ้าน
วงดนตรีพื้นบ้านอีสาน
วงดนตรีของทางวัฒนธรรมอีสานเหนือ
แคนวง
คือ
แคนที่นำมาบรรเลงพร้อมๆกัน หลายๆเต้า โดยเป่าเป็นคณะ หรือเป็นวงร่วมกัน
มีเครื่องให้จังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ ฯลฯ เข้าร่วนบรรเลงด้วย แคนวง วงหนึ่ง
จะใช้แคนตั้งแต่ 6 เต้าขึ้นไป จนถึง 12 เต้า คือ
- แคนวงขนาดเล็ก
ใช้แคน 6 เต้า
- แคนวงขนาดกลาง
ใช้แคน 8 – 10 เต้า
- แคนวงขนาดใหญ่
ใช้แคน 12 เต้า
จำนวนแคนต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นวงขนาดเล็ก
กลาง และขนาดใหญ่
เป็นจำนวนโดยอนุโลม ไม่ได้ถือตายตัวเคร่งครัดมากนัก เช่น อาจจะเพิ่มจำนวนแคนให้มากกว่านี้เพียงใดก็ถือว่าเป็นแคนวงขนาดใหญ่ทั้งนั้น
โดยมีเครื่องดนตรีอื่นๆ และเครื่องประกอบจังหวะร่วมผสมเข้ากับวงด้วยเช่น ขลุ่ย
หรือ ปี่ ซอด้วง ซออู้ กลอง หรือโทนรำมะนา แคนวงมักบรรเลงเพลงไทย เพลงไทยสากล
ทั้งเพลงไทยลูกกรุง เพลงไทยลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ
แคนวงประยุกต์
มีพัฒนาการมาจากแคนวง
โดยมีการนำเครื่องดนตรีสากลต่างๆ เข้ามาบรรเลงร่วมกับแคนวง เช่น กลองชุด เบส
กีตาร์ คีบอร์ด ฯลฯ นอกจากนี้ บางครั้งก็นำเครื่องดนตรีไทย เช่น ซอ จะเข้ ฯลฯ
เข้ามาประกอบ จึงไม่มีการกำหนดประเภท ขนาด และจำนวน
วงแคน
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอีสานที่มีแคนเป็นหลัก
จะมีจำนวนสักกี่เต้าก็ได้ นอกจากนี้ก็มีเครื่องดนตรีอื่นๆ
มาร่วมบรรเลงตามที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น พิณ ซอ ฉิ่ง และ กลอง ฯลฯ
วงลำเพลิน
เป็นวงดนตรีคล้ายกับวงโปงลาง
แต่มีการนำกลองชุดเข้ามาร่วมบรรเลง โดยมีจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ จังหวะลำเพลิน
วงพิณ
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ที่มีพิณเป็นหลัก จะมีจำนวนสักกี่เครื่องก็ได้ นอกจากนี้ก็มีเครื่องดนตรีอื่นๆ
มาร่วมบรรเลงตามที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น แคน ซอ ฉิ่ง ฉาบ ฯลฯ
วงกลองยาว
ประกอบด้วยกลองยาวประมาณ
3 ใบ และกลองรำมะนาใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองตุ้ม หรือกลองตึ้ง 1 ใบ และฉาบ 1 คู่ ตีเป็นทำนองและจังหวะแบบอีสาน
ซึ่งชาวบ้านมักร้องเป็นทำนองว่า
“เป็ด
เป่ง เฮ็ม เป่ง เป็ด เป่ง เป่ง
เป็ด เป่ง เป่ง
เป่ง เป็ด เป่ง ฮึ้ม”
กลองยาว นิยมบรรเลงประกอบขบวนแห่ ตามงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การแห่กัณฑ์หลอนในงานบุญพระเวสฯ
วงโปงลาง
คณะโปงลาง
หรือนิยมเรียกว่า วงโปงลาง นั้น คาดว่าได้ชื่อนี้มาจาก… เครื่องดนตรีที่ดังที่สุดในวงคือ
โปงลาง (กรณีไม่ใช้เครื่องขยายเสียง) ดังนั้น เลยเรียกวงดนตรีนั้นว่า วงโปงลาง
หรืออีกที่มาหนึ่ง คือ โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีเด่น กำลังมาแรง เป็นจุดขายของวง
จึงตั้งชื่อว่า วงโปงลาง ซึ่งบางแห่ง อาจจะไม่ใช้ชื่อว่าวงโปงลาง
แต่ใช้ชื่อว่าวงแคน หรือวงพิณ ก็มี
วงโปงลาง
แม้จะใช้ชื่อว่า วงโปงลาง ก็ไม่ได้หมายความว่า มีเฉพาะโปงลางอย่างเดียว
แต่มีเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด ร่วมบรรเลง
วงโปงลาง
ในสมัยก่อน เป็นแบบพื้นบ้านจริงๆ ไม่มีเครื่องขยายเสียง ใช้เสียงสดๆ
ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเลยทีเดียว ซึ่งเครื่องดนตรีหลักๆ แบบเต็มวง ประกอบด้วย
- โปงลาง
- พิณโปร่ง
(ชนิดที่มีกล่องเสียงใหญ่ๆ)
- แคน
- โหวด
- ไหซอง
(ยังไม่มีพิณเบส)
- กลองหาง
(กลองยาวอีสาน)
- รำมะนา
หรือกลองตุ้ม
- หมากกะโหล่ง
(หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
- ฉาบเล็ก
- ฉาบใหญ่
เสียงดนตรีที่ได้
จะให้ความรู้สึกคลาสิคแบบพื้นบ้านจริงๆต่อมาเมื่อ เมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้น
จึงได้ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่
ซึ่งเครื่องดนตรีวงโปงลางยุคปัจจุบัน แบบเต็มวง ประกอบด้วย
- โปงลาง
- พิณไฟฟ้า
(หรือพิณโปร่งไฟฟ้า)
- แคน
- โหวด
- พิณเบสไฟฟ้า
- ไหซอง
(โชว์ลีลานางดีดไห)
- กลองหาง
(กลองยาวอีสาน)
- รำมะนา
หรือกลองตุ้ม
- หมากกะโหล่ง
(หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
- ฉาบเล็ก
- ฉาบใหญ่
- แฉ
- บางวงใช้เครื่องดนตรีต่อไปนี้
ด้วย
- ฉิ่ง
- ฆ้องโหม่ง
- ปี่ภูไท
- ซอ
- หึน
- บางวงที่ประยุกต์เพื่อสนุกสนานบันเทิง
ก็อาจใช้
- กลองชุดสากล
- แซคโซโฟน
- กลองยาวติดคอนแท็ค
ลักษณะการแสดงของวงโปงลางพื้นบ้านนั้น
หลักๆ จะมี 3 ลักษณะคือ
- การบรรเลงลายเพลงพื้นบ้านอีสาน
(นิยมเรียกว่า ลายบรรเลง)
- การฟ้อนประกอบดนตรี
(นิยมเรียกว่า ชุดการแสดง)
- การร้อง ลำ
ประกอบดนตรี รวมถึงประกอบการฟ้อนรำ
เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน
กระจับปี่
,ไหซอง, จะเข้, หึน, ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ, กั๊บแก๊บ, แคน,
พิณ, โปงลาง, โหวต,
ซอ, กลอง, ปี่กู่แคน
นอกจากนี้
ดนตรียังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้
เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อนและฟ้อนอย่างมีความสุข
ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนมีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง
จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน
ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มดนตรีอีสานเหนือ
ประเภทเครื่องดีด เครื่องดนตรีประเภทใช้ดีด ได้แก่
1.พิณพื้นเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ซุง ซึง หมากจับปี่
หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน
เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น
มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3
สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย
ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น
แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน การขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้นที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน
การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลาย โดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน
2.หุนหรือหืน เป็นเครื่องดีดที่ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งชาวภาคกลางเรียกว่า
จ้องหน่อง เวลาดีดต้องใช้ปากคาบไว้ที่กระพุ้งแก้ม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องขยายเสียง
หุนจะมีเสียงค่อนข้างเบา ดังนั้นจะดีดให้เป็นทำนองชัดเจนได้ยาก
3.โกย คือ หุนหรือจ้องหน่องที่ทำด้วยโลหะ
นิยมเล่นกันในหมู่ผู้หญิงผู้ไทสมัยโบราณ
4.ไหซองหรือพิณไห เป็นพิณที่ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหใส่ปลาร้า นิยมทำเป็นชุดๆ
ละหลายใบโดยมีขนาดลดหลั่นกัน ตรงปากไหใช้เส้นยางหนังสติกหรือเส้นยางที่ตัดมาจากยางในของรถจักรยานผูกและขึงผ่านให้ได้เสียงประสานกัน
โดยทำหน้าที่ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบสของฝรั่ง
พิณ
ซึง ซุง พิณ_ไหซอง พิณ ซึง ซุง ไหซอง หรือ พิณไห
ประเภทเครื่องสี หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายสีด้วยคันชัก หรือเครื่องสายตามการเรียกในภาคกลาง
1.ซอพื้นเมือง แตกต่างจากซออื่นๆ
เพราะซอพื้นเมืองของภาคอีสานแทนที่จะทำด้วยไม้กับกะลามะพร้าวแต่กลับทำด้วยไม้กับปี๊บหรือกระป๋อง
ในบางครั้งก็เรียกว่า ซอปี๊บ หรือ ซอกระป๋อง ซอชนิดนี้มีอยู่ 2 สาย คันชักที่ใช้สีนั้นทำเช่นเดียวกับซอสามสาย
คันชักของซอปี๊บจะอยู่ข้างนอก วิธีการสีเช่นเดียวกับซอสามสายหรือไวโอลิน
การเล่นเพลงเช่นเดียวกับพิณ
2.ซอไม้ไผ่ หรือ ซอบั้ง
ทำด้วยไม้ไผ่หนึ่งปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองถึงสามนิ้ว
ถากผิวออกจนเหลือกระบอกบางๆ เจาะรูให้เกิดโพรงเสียง ขึ้นสายสองสายไปตามยาวของปล้องไม้ไผ่
แล้วสีด้วยคันชัก ซอไม้ไผ่มีข้อเสียที่เสียงเบาเกินไป
ประเภทเครื่องตี หมายถึง เครื่องดนตรีประเภทตีดำเนินทำนอง ได้แก่
ซอปี๊บ
ซอกระบอก ซอกระบอก โปงลาง ซอกระป๋อง ซอปิ๊บ ซอกระบอก โปงลาง
1.โปงลาง มีลักษณะคล้ายระนาดแต่มีขนาดใหญ่
เดิมทีโปงลางเป็นชื่อของกระดึงที่แขวนคอวัวต่าง
เป็นสัญญาณระหว่างการเดินทางไปค้าขาย
ส่วนโปงที่เป็นเครื่องดนตรีเดิมชาวบ้านในจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกว่า “ขอลอ” โปงลางทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้หมากเหลื่อม
ไม้สมอป่า ไม้พยุง ไม้ประดู่ ไม้ขนุน แต่ที่นิยมว่าให้เสียงไพเราะที่สุดได้แก่ ไม้มะหาด
ที่ตายยืนต้นมาแล้วประมาณ 3 ปี
โปงลางจะประกอบด้วยลูกระนาดหรือไม้ท่อนโตขนาดแขนจำนวน
12
ท่อน เรียงจากขนาดใหญ่ไปหาเล็กหรือระดับเสียงต่ำไปหาสูง
ท่อนยาวที่สุดประมาณฟุตครึ่ง และสั้นที่สุดประมาณ 1 ฟุต
ถากตรงกลางให้บางเพื่อปรับระดับเสียงแล้วใช้เชือกร้อยเป็นผืนไม่ต้องใช้รางอย่างระนาด
แต่ใช้แขวนไว้กับหลักหรือเสาแต่ไม่ให้ท่อนล่างชิดพื้น
เสียงโปงลางประกอบด้วยเสียงห้า คือ เสียง โด เร มี ซอล ลา
ในการตีโปงลางนิยมใช้คนบรรเลง 2 คน แต่ละคนใช้ไม้ตีสองอัน
คนหนึ่งตีเสียงทำนองเพลงตามลายต่างๆ เช่นเดียวกับพิณหรือแคน
อีกคนหนึ่งตีเสียงเสริมประสาน
2.กลอง ในภาคอีสานมีกลองที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีประกอบจังหวะหลายประเภท
เช่น
-
กลองยาวหรือกลองหาง เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้จริง
เช่น ไม้มะม่วง ตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายมีลักษณะเรียว
มีหลายขนาดตรงกลางของหน้ากลองจะติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าถ่วงเสียงตัวกลองยาวนั้น
-
กลองเส็ง หรือ กลองกิ่ง หรือ กลองแต้ เป็นกลองคู่ประเภทหน้าเดียว
นิยมใช้สำหรับการแข่งขันประลองความดังกัน หรืออาจใช้สำหรับตีในงานบุญต่างๆ เช่น
งานบุญบั้งไฟ การตีกลองเส็งจะใช้ไม้ตีซึ่งนิยมใช้ไม้เค็ง (ไม้หยี)
เพราะเหนียวและทนทานกว่าไม้ชนิดอื่นๆ
-
กลองตุ้ม เป็นกลองสองหน้าคล้ายกับตะดพน
แต่ต่างจากตะดพนตรงที่หน้ากลองตุ้มทั้งสองหน้ามีขนาดเท่ากัน
ส่วนใหญ่ใช้ตีประกอบกับกลองยาวในขบวนแห่หรือขบวนฟ้อนในเทศกาลต่างๆ
-
กลองตึ้ง เป็นกลองรำมะนาขนาดใหญ่ที่ใช้ในวงกลองยาว
เวลาตีต้องใช้คนสองคนหาม และให้คนที่หามอยู่ข้างหลังเป็นคนตีไปด้วย
-
กลองกาบบั้ง หรือ กลองกาบเบื้อง
เป็นกลองรำมะนาเป็นกลองหน้าเดียวหรือเบื้องเดียว
นิยมใช้ตีผสมวงกับกลองตุ้มและกลองยาว
1.ผ่างฮาด หรือ ฆ้องโหม่ง
แบบโบราณชนิดที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลางเหมือนฆ้องทั่วๆ ไป
คือแผ่นหน้าของผ่างฮาดจะเรียบเสมอกันหมด นิยมใช้ตีผสมกับเครื่องกำกับจังหวะในขบวนฟ้อนผู้ไท
ฟ้อนเซิ้งบั้งไฟ
2.หมากกับแก๊บ หรือ หมากก๊อบแก๊บ หรือ กรับคู่
เป็นกรับพื้นเมืองอีสานทำด้วยไม้ธรรมดาสองชิ้น
จักเป็นร่องฟันใช้ครูดหรือกรีดตามจังหวะ
นอกจากเครื่องดนตรีเหล่านี้แล้ว
ยังมีเครื่องดนตรีประเภทตีทำด้วยโลหะอีกหลายชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ
ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า สิ่ง แส่ง
ผ่างฮาด
กลอง แคน โหวด ผ่างฮาด
ประเภทเครื่องเป่า
1.แคน เครื่องเป่าที่เรารู้จักกันดีและแพร่หลาย
เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน
รายละเอียดเกี่ยวกับแคนเพิ่มเติมคลิกที่นี่ เสียงของแคนมีความไพเราะแสดงได้ทั้งอารมณ์สนุกสนาน
เศร้าสร้อย การเป่าแคนจะมีท่วงทำนองซึ่งเรียกกันว่า ลายแคน เช่น ลายสุดสะแนน
ลายลมพัดไผ่ ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ฯลฯ
2.โหวต เป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยลูกแคนแต่ไม่มีลิ้น
โดยนำเอากู่แคนจำนวนประมาณ 7 ถึง 12 อันมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันให้ปลายทั้งสองข้างเปิด
ปลายด้านล่างใช้ขี้สูตรปิดให้สนิท ส่วนปลายบนเปิดไว้สำหรับเป็นรูเป่า
โดยนำเอากู่แคนมารวมกันเข้ากับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง
จัดลุกแคนล้อมรอบในลักษณะทรงกลม ตรงหัวโหวตใช้ขี้สูตรก่อเป็นรูปกรวยแหลม
เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดฝีปากด้านล่าง และให้โหวตหมุนได้รอบทิศเวลาเป่า
3.ปี่ผู้ไท เป็นปี่ที่ทำจากไม้กู่แคน
โดยเอากู่แคนมาปล้องหนึ่งตัดโดยเปิดปลายข้างหนึ่ง
และขังข้ออีกด้านหนึ่งตรงปลายด้านที่บั้งข้อเจาะช่องสำหรับใส่ลิ้นที่ทำด้วยทองเหลือง
เจาะรูเยื่อ 1 รู และรูนับ 5 รู
ปรับเสียงให้เท่ากับเสียงแคน
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนของอีสานเหนือดั้งเดิม
จะใช้เครื่องดนตรีหลักเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งชนิดเดียว เช่น ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนผีหมอ
จะใช้แคน ฟ้อนกลองตุ้มจะใช้กลองตุ้มอย่างเดียว
แต่ในการแสดงชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในยุคหลังจะใช้ดนตรีลักษณะผสมวงหลายชิ้น เช่น
พิณ แคน โปงลาง กลอง ฯลฯ ผสมกัน
วัฒนธรรมกลุ่มดนตรีอีสานใต้
ซอกันตรึม
ตรัว
ซอกันตรึม พิณน้ำเต้า ตรัวอู้
ประเภทเครื่องดีด
1.พิณกระแสเดียวหรือ กระแสมุย แปลว่า พิณเสียงเดียวหรือพิณสายเดียว
กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้งตัดครึ่งด้านขวางของผล
แกะเมล็ดในและเยื่อออกให้หมด ใช้หวายขันชะเนาะกระโหลกน้ำเต้าให้ติดกับโคนของคันพิณลูกบิดอยู่ทางด้านโคน
สุดของคันพิณขึงโยงด้วยสายโลหะ
จากลูกบิดสอดหวายที่ขันชะเนาะอยู่ไปผูกกับปลายคันพิณ
ตอนปลายสุดมีลักษณะงอนเป็นรูปพระยานาคชูหัว ซึ่งชาวไทยภาคกลางเรียกว่า พิณน้ำเต้า
2.จาเป่ย หรือ กระจับปี่ มีลักษระคล้าย ซึง
มีสายคู่ซึ่งสายแต่ละคู่ตั้งเสียงให้เท่ากัน คันพิณทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
ส่วนกล่องเสียงจะทำด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ที่ส่วนปลายสุดของคันพิณมีรู 4 รู เพื่อใส่ลูกบิดและร้อยสาย
และที่คันพิณจะมีที่วางนิ้วซึ่งขัดไว้เป็นระยะๆ
3.อังกุ๊ยจ์ ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง ลักษณะเดียวกันกับ หุน หรือ
หืน ทำด้วยไม้ไผ่
ประเภทเครื่องสี
เครื่องดนตรีที่ใช้สีด้วยคันชักหรือคันสีที่รู้จักกันดี ได้แก่ ซอกันตรึม หรือ
ตรัว
ลักษณะของวอกันตรึมนี้ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับซอด้วงและซออู้ที่ใช้ในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน
ในอีสานใต้นี้พบว่ามีใช้กันอยู่ 4 ขนาด
4.ซอเล็ก หรือ ตรัวจ์ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายซอด้วง แต่มีเสียงสูงและแหบกว่า
5.ซอกลาง หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่กว่าซอเล็ก
6.ซอใหญ่ หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่ที่สุด
7.ซออู้ หรือ ตรัวอู มีลักษณะคล้ายซออู้ตามปกติ
ซอทั้ง
4
ขนาดมีรูปร่างไม่แตกต่างกันมากนัก ต่างกันเฉพาะขนาดและวัสดุที่ใช้ทำกระโหลกซอเท่านั้น
ซอเล็กนั้นบางครั้งพบว่าใช้เขาควายมาทำเป็นกระโหลก
แต่ซอกลางและซอใหญ่นั้นนิยมใช้ไม้ขนุนหรือไม้เนื้อแข็ง
ส่วนซออู้นั้นกระโหลกซอจะใช้กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ และใช้หนังงูเหลือม
หรือหนังตะกวดปิดหน้ากระโหลกซอ วงกันตรึมในปัจจุบันนิยมใช้ซอกลางและซออู้บรรเลงในงานทั่วๆ
ไป
ประเภทเครื่องตี ได้แก่
1.
กลองกันตรึม หรือ สะกัว มีลักษณะเป็นกลองขนาดเล็ก
รูปร่างคล้ายโทนดินเผา ตัวกลองขุดจากไม้ขนุน
หรือลำต้นมะพร้าวโดยกลึงภายนอกให้ได้รูปร่างเสียก่อน
จึงเจาะคว้านภายในให้เป็นโพรงกลวง ใช้หนังวัวหรือหนังงูเหลือมหุ้มปากกลอง
2.นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีอื่นๆ อีก เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ฆ้องราว ฆ้องหุ่ย
กลองรำมะนา กลองตะโพน ฉิ่ง ฉาบ
กลองกันตรึม
กลองกันตรึม
ปี่เญ็น ปี่อังกอ, ปี่จรุง, ปี่โจร่ง
ประเภทเครื่องเป่า
1.
ปี่อ้อ หรือ แบ็ยอด เป็นปี่ที่ทำจากไม้ไผ่
ส่วนที่เป็นตัวปี่ทำด้วยไม้อ้อ
โดยเหลาปลายข้างใดข้างหนึ่งจนบางแล้วบีบให้แบนประกบกันในลักษณะลิ้นคู่
แต่ที่ปลายลิ้นยังมีลักษณะกลมเพื่อสอดส่วนที่เป็นท่อนปลายของตัวปี่
และใช้ไม้ไผ่หรือหวายเล็กบีบประกบกัน เพื่อให้ปลายลิ้นของปี่มีรูปร่างคงเดิมอยู่เสมอ
ลำตัวของปี่อ้อจะเจาะรูด้านบน 7 รู และด้านล่างอีก 1 รูไว้สำหรับปิดเปิดเปลี่ยนระยะทางเดินของลมเวลาเป่า
2.ปี่สไนง์ หรือ สแนง เป็นปี่ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากเขาควาย
โดยเจาะช่องด้านบนของเขาควาย ใส่ลิ้นอย่างแคน ผนึกด้วยขี้สูดให้สนิท
ใช้เชือกผูกปลายเขาทั้งสองข้างแขวนคอแล้วใช้ปากเป่า
โดยใช้อุ้งมือขวาปิดเปิดเพื่อควบคุมระดับเสียง
ปี่ที่ใช้ในวงกันตรึม
ปี่ไฉน
ปี่ไสน ปี่เน แป็ยออ ปี่อ้อ อังกุ๊ยส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น