ทฤษฎี การอ่านโน้ตไทย
โดย
คุณครูอิสรินทร์ ทาส่วย
โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล
โน้ตดนตรีไทย
ทฤษฎีการอ่านโน้ต
วิธีการอ่านโน้ตลายดนตรีพื้นเมืองอีสาน
องค์ประกอบของโน้ต
การใช้สัญลักษณ์เพื่อบันทึกเสียงดนตรี ไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรมใดก็ตามไม่สามารถที่จะใช้แทนในทุกลีลาของดนตรี
ได้ครบทุกกระบวนความ อย่างไรก็ตามไม่ว่าการบันทึกโน้ตของดนตรีแต่ละวัฒนธรรมจะมีการกำหนด
กฏเกณฑ์มากน้อยต่างกันเพียงใดก็ตาม สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงมักจะประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
1. สัญลักษณ์แทนความสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch)
2. สัญลักษณ์แทนความสั้นยาวของเสียง (Duration)
3. สัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ
1. สัญลักษณะแทนความสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch) ระดับความสูง-ต่ำของเสียงนับเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างทำนองดนตรี ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับเสียงอาศัยระดับความสูง-ต่ำ ของบรรทัด 5 เส้นเป็นตัวกำหนด สำหรับระบบโน้ตในดนตรีพื้นเมืองอีสาน หรือ ดนตรีไทย สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับความสูง-ต่ำ ของเสียงถูกกำหนดโดยตัวอักษรจำนวน 7 ตัว และสัญลักษณ์การแทนเสียงสูง –ต่ำ โดยมี จุด (.) ข้างล่างตัวอักษร เป็นเสียงต่ำ ส่วนมีจุด (.) ข้างบนตัวอักษร เป็นเสียงสูง ดังแสดงตารางดังนี้
วิธีการอ่านโน้ตลายดนตรีพื้นเมืองอีสาน
องค์ประกอบของโน้ต
การใช้สัญลักษณ์เพื่อบันทึกเสียงดนตรี ไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรมใดก็ตามไม่สามารถที่จะใช้แทนในทุกลีลาของดนตรี
ได้ครบทุกกระบวนความ อย่างไรก็ตามไม่ว่าการบันทึกโน้ตของดนตรีแต่ละวัฒนธรรมจะมีการกำหนด
กฏเกณฑ์มากน้อยต่างกันเพียงใดก็ตาม สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงมักจะประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
1. สัญลักษณ์แทนความสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch)
2. สัญลักษณ์แทนความสั้นยาวของเสียง (Duration)
3. สัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ
1. สัญลักษณะแทนความสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch) ระดับความสูง-ต่ำของเสียงนับเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างทำนองดนตรี ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับเสียงอาศัยระดับความสูง-ต่ำ ของบรรทัด 5 เส้นเป็นตัวกำหนด สำหรับระบบโน้ตในดนตรีพื้นเมืองอีสาน หรือ ดนตรีไทย สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับความสูง-ต่ำ ของเสียงถูกกำหนดโดยตัวอักษรจำนวน 7 ตัว และสัญลักษณ์การแทนเสียงสูง –ต่ำ โดยมี จุด (.) ข้างล่างตัวอักษร เป็นเสียงต่ำ ส่วนมีจุด (.) ข้างบนตัวอักษร เป็นเสียงสูง ดังแสดงตารางดังนี้
เสียงต่ำ
|
เสียงธรรมดา
|
เสียงสูง
|
ดฺ
ย่อมมาจาก โด (ต่ำ)
|
ด
ย่อมาจาก
โด
|
ดํ
ย่อมาจาก
โด (สูง)
|
รฺ
ย่อมาจาก เร (ต่ำ)
|
ร
ย่อมาจาก
เร
|
รํ
ย่อมาจาก
เร (สูง)
|
มฺ
ย่อมาจาก มี (ต่ำ)
|
ม
ย่อมาจาก
มี
|
มํ
|
ฟฺ
ย่อมาจาก ฟา (ต่ำ)
|
ฟ
ย่อมาจาก
ฟา
|
ฟํ
|
ฺซฺ
ย่อมาจาก ซอล (ต่ำ)
|
ซ
ย่อมาจาก
ซอล
|
ซํ
|
ฺลฺ
ย่อมาจาก
ลา (ต่ำ)
|
ล
ย่อมาจาก
ลา
|
ลํ
|
ฺทฺ
ย่อมาจาก
ที (ต่ำ)
|
ท
ย่อมาจาก
ที
|
ทํ
|
ถึงแม้ว่าชื่อประจำระดับเสียงโน้ตๆ ที่เลียนแบบมาจากระบบโน้ตดนตรีสากลก็ตาม ขอให้เข้าใจว่าชื่อเรียกระดับเสียงต่างๆ ในดนตรีพื้นเมืองอีสาน ดนตรีไทย และดนตรีสากล
ที่เหมือนกันนั้น มีระดับความสูง-ต่ำ ของเสียงและขั้นคู่เสียงไม่เท่ากัน จากการที่มีระดับเสียงสูง-ต่ำ ของเสียงที่เกิดจากการใช้สัญลักษณ์นั้น ไม่สามารถมองเห็นเป็นภาพความสูง-ต่ำลดหลั่งกันเหมือนเช่นในระบบโน้ตดนตรีสากล ดังนั้นในการฝึกระดับเสียงของดนตรีพื้นเมืองอีสานในระยะเริ่มต้นอาจมีความยากอยู่บ้าง เพื่อให้สามารถทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับระดับความสูง-ต่ำของเสียงอาจใช้กระบวนการ
การฝึกหัดไล่บันไดเสียง โดยการนำอักษรแทนระดับเสียงต่างๆ ใส่ลงบนขั้นบันได ดังรูปภาพนี้
2. สัญลักษณ์แทนความสั้น-ยาวของเสียง ความสั้น-ยาวของเสียงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการกำหนดลีลาจังหวะในดนตรีตะวันตก
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความสั้น-ยาว สังเกตได้จากลักษณะที่แตกต่างกันของตัวโน้ต เช่น ตัวกลม
ตัวขาว ตัวเขบ็ด (0 0 0 ) เป็นต้น
ระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย มีสัญลักษณ์ที่ตรงกันข้ามกับระบบโน้ตสากล คือ อัตราจังหวะความสั้น-ยาว ของเสียงในระบบโน้ตสากลขึ้นอยู่กับลักษณะที่แตกต่างกันของโน้ตเป็นสำคัญ ในขณะที่ตัวโน้ตตามระบบดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย ไม่สามารถแทนค่าความสั้น-ยาวของเสียงได้ อัตราความสั้น-ยาวระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานจะเกิดได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ ห้องเพลง และการจัดเรียงโน้ต
2.1 ห้องเพลง ห้องเพลงในระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือดนตรีไทย ทำหน้าที่เช่นเดียวกับจังหวะเคาะ (Beat) โดยจะมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในอัตราช้า-เร็วอย่างสม่ำเสมอ ทุกบรรทัดที่ใช้บันทึกโน้ตจะประกอบด้วย 8 ห้องเพลง โดยตำแหน่งของจังหวะเคาะจะอยู่ที่ส่วนท้ายสุดของตัวโน้ตในแต่ละห้องเพลง ดังนี้
ระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย มีสัญลักษณ์ที่ตรงกันข้ามกับระบบโน้ตสากล คือ อัตราจังหวะความสั้น-ยาว ของเสียงในระบบโน้ตสากลขึ้นอยู่กับลักษณะที่แตกต่างกันของโน้ตเป็นสำคัญ ในขณะที่ตัวโน้ตตามระบบดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย ไม่สามารถแทนค่าความสั้น-ยาวของเสียงได้ อัตราความสั้น-ยาวระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานจะเกิดได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ ห้องเพลง และการจัดเรียงโน้ต
2.1 ห้องเพลง ห้องเพลงในระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือดนตรีไทย ทำหน้าที่เช่นเดียวกับจังหวะเคาะ (Beat) โดยจะมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในอัตราช้า-เร็วอย่างสม่ำเสมอ ทุกบรรทัดที่ใช้บันทึกโน้ตจะประกอบด้วย 8 ห้องเพลง โดยตำแหน่งของจังหวะเคาะจะอยู่ที่ส่วนท้ายสุดของตัวโน้ตในแต่ละห้องเพลง ดังนี้
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
2.2 การจัดเรียงตัวโน้ต เนื่องจากสัญลักษณ์ตัวอักษร ด ร ม ฟ ซ ล ท ไม่สามารถแยกแยะอัตราความสั้น-ยาวของเสียงที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการจัดเรียงตัวโน้ต ตามหลักการพื้นฐานของการจัดเรียงตัวโน้ต ในแต่ละห้องเพลง จะบรรจุไปด้วยหน่วยเคาะย่อยเท่ากับ 4 หน่วยเคาะย่อย ดังนี้
1234
|
1234
|
1234
|
1234
|
1234
|
1234
|
1234
|
1234
|
ในการบันทึกตามระบบตัวโน้ตของดนตรีพื้นเมืองอีสาน
โน้ตอักษร ด ร ม ฟ…..แต่ละตัวและเครื่องหมาย
– (ลบ) แต่ละอันมีความยาวเท่ากันบ 1 จังหวะเคาะย่อยเท่ากันหมด
เช่น
-- เท่ากับ -ด
-ด เท่ากับ รด
--ด เท่ากับ -รด
ม-ด เท่ากับ -มด
-ม-ด เท่ากับ -มรด
สัญลักษณ์ –(ลบ) แต่ละอันเมื่อปรากฏต่อท้ายตัวอักษรตัวใดแล้ว จะสามารถยืดเสียงของโน้ตตัวนั้นให้ยาวออกไปอีกอันละ 1 หน่วยเคาะย่อย เช่น
ม/---ช/---ล/-ซ-ล/
มี---ซอล----ลา---ซอล---ลา
1234/1234/12/121/
1. มีความยาวเท่ากับ 4 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยตัวอักษร ม (มี) หนึ่งเคาะย่อย และ สัญลักษณ์ – (ลบ) อีก 3 เคาะย่อย
2. มีความยาวเท่ากับ 21
3. มีความยาวเท่ากับ 2 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยโน้ตอักษร ล (ลา) หนึ่งเคาะย่อย และสัญลักษณ์ – (ลบ) อีก 1 เคาะย่อย
4. มีความยาวเท่ากับ 3
5. มีความยาวเท่ากับ 1 เคาะย่อย ซึ่งเป็นอัตราความยาวของตัวอักษร ล (ลา)
การบันทึกเพลง สัญลักษณ์อักษรที่ใช้แทนเสียงโน้ต ด ร ม ….. และสัญลักษณ์ยืดเสียง – (ลบ) จะสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งกันไปมาตามท่วงทำนองของเพลง ดังนั้นการเรียงโน้ตจึงสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ ตามตัวอย่างที่ยกมานี้
กรณีมีโน้ตห้องละ 1 ตัง
/---ซ / --- ม / --- ร / ---ด /
กรณีมีโน้ตห้องละ 2 ตัว
/ -ล-ล / -ม-ล / -ล-ซ / -ม-ล/
กรณีมีโน้ตห้องละ 3 ตัว
/ -มซม / -ดมร / -มซด / -ลลล /
กรณีมีโน้ตห้องละ 4 ตัว
/ ซลดร / มรดล / ชลดร / รรรร /
กรณีที่มีการผสมผสานกันหลายรูปแบบ
-- เท่ากับ -ด
-ด เท่ากับ รด
--ด เท่ากับ -รด
ม-ด เท่ากับ -มด
-ม-ด เท่ากับ -มรด
สัญลักษณ์ –(ลบ) แต่ละอันเมื่อปรากฏต่อท้ายตัวอักษรตัวใดแล้ว จะสามารถยืดเสียงของโน้ตตัวนั้นให้ยาวออกไปอีกอันละ 1 หน่วยเคาะย่อย เช่น
ม/---ช/---ล/-ซ-ล/
มี---ซอล----ลา---ซอล---ลา
1234/1234/12/121/
1. มีความยาวเท่ากับ 4 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยตัวอักษร ม (มี) หนึ่งเคาะย่อย และ สัญลักษณ์ – (ลบ) อีก 3 เคาะย่อย
2. มีความยาวเท่ากับ 21
3. มีความยาวเท่ากับ 2 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยโน้ตอักษร ล (ลา) หนึ่งเคาะย่อย และสัญลักษณ์ – (ลบ) อีก 1 เคาะย่อย
4. มีความยาวเท่ากับ 3
5. มีความยาวเท่ากับ 1 เคาะย่อย ซึ่งเป็นอัตราความยาวของตัวอักษร ล (ลา)
การบันทึกเพลง สัญลักษณ์อักษรที่ใช้แทนเสียงโน้ต ด ร ม ….. และสัญลักษณ์ยืดเสียง – (ลบ) จะสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งกันไปมาตามท่วงทำนองของเพลง ดังนั้นการเรียงโน้ตจึงสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ ตามตัวอย่างที่ยกมานี้
กรณีมีโน้ตห้องละ 1 ตัง
/---ซ / --- ม / --- ร / ---ด /
กรณีมีโน้ตห้องละ 2 ตัว
/ -ล-ล / -ม-ล / -ล-ซ / -ม-ล/
กรณีมีโน้ตห้องละ 3 ตัว
/ -มซม / -ดมร / -มซด / -ลลล /
กรณีมีโน้ตห้องละ 4 ตัว
/ ซลดร / มรดล / ชลดร / รรรร /
กรณีที่มีการผสมผสานกันหลายรูปแบบ
----
|
-ม-ด
|
-ร-ม
|
-ร-ด
|
-ลฺลฺลฺ
|
-ม-ด
|
-ร-ม
|
-ร-ด
|
-ลฺลฺลฺ
|
-ม-ซ
|
-ร-ม
|
-ร-ด
|
-ลฺลฺลฺ
|
-ม-ซ
|
-ร-ม
|
-ร-ด
|
---ม
|
-ร-ด
|
รดรมฺ
|
-ซฺ-ลฺ
|
---ม
|
-ร-ด
|
รดรมฺ
|
-ซฺ-ลฺ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น