วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีการฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ เบื้องต้น



วิธีการฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ เบื้องต้น
โดย
คุณครูอิสรินทร์ ทาส่วย
โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล
 
ขลุ่ยรีคอร์เดอร์

รีคอร์เดอร์ (Recorder ) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ นิยมเล่นมากในศตวรรษที่ 16 และ 17 และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ รีคอร์เดอร์มีรูสำหรับใช้นิ้วเปิด ปิด 8 รู ลำตัวจะเป็นทรงกรวย เดิมทำด้วยไม้ ในยุคหลังมีการใช้วัสดุอื่นมาผลิตแทนไม้ เช่น
พลาสติก หรือเรซิน มีปากเป่าลักษณะเหมือนกับนกหวีด คุณภาพของเสียงของรีคอร์เดอร์ จะนุ่มนวลบางเบา สดใสจัดอยู่ในตระกูล
ขลุ่ยรีอคร์เดอร์ มีทั้งหมด 10 ระดับเสียง แต่มีเพียง 6 ระดับเสียงที่นำมาใช้กันมาก (ดังภาพที่ 2 และ 3) ได้แก่
1. Sopranino มีความยาว 9 นิ้ว เป็นขลุ่ยที่เล็กที่สุด และมีระดับเสียงที่สูงที่สุด
2. Soprano หรือ Descant มีความยาว 12 นิ้ว ใช้ในการเล่นทำนอง
3. Alto บางครั้งเรียกว่า The Treble มีความยาว 18 นิ้วครึ่ง
4. Tenor มีความยาวประมาณ 25 นิ้วครึ่ง
5. Bass มีความยาว 3.6 นิ้ว
6. Contra Bass มีความยาว 49 นิ้ว
และขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่นิยมเป่ากันทั่วไป คือ โซปราโน รีคอร์เดอร์ (Soprano Recorder)
ส่วนขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการบรรเลง คือ recorder Big Bass และRecorder Sopranino
การจับขลุ่ยรีคอร์เดอร์
เวลาบรรเลงให้ใช้มือซ้ายจับลำตัวขลุ่ยรีคอรเดอร์ส่วนบน โดยนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง แทนด้วยตัวเลข 1 2 และ 3 ตามลำดับ นิ้วหัวแม่มือปิดที่รูด้านหลัง ส่วนมือขวาจับลำตัว ส่วนล่างของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยจะใช้ 4 นิ้ว คือนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยแทนด้วยตัวเลข 1 2 3 และ 4 ตามลำดับนิ้วหัวแม่มือขวาใช้ประคองขลุ่ยไว้
การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
เม้มริมฝีปากเบา ๆ อมปากขลุ่ยรีคอร์เดอร์เล็กน้อย เป่าลมเข้าเบา ๆ ก็จะเกิดเสียงตามต้องการ เมื่อจะเป่าเสียงสูงต้องเม้มริมฝีปากให้เน้นขึ้นแล้วเป่าลมแรง ส่วนการเป่าเสียงต่ำจะค่อย ๆ ผ่อนริมฝีปากออกแล้วเป่าลมเบา ๆ การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์มีวิธีเป่าหลายวิธี เช่น การเป่าโดยใช้ลิ้นเพื่อให้เสียงหนักแน่นและเสียงขาดจากกันเป็นตัว ๆ หรือการเป่าโดยใช้ลมเพื่อให้เลื่อนไหลติดต่อกัน เป็นต้น ผู้ฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ควรฝึกการควบคุมลม ให้ลมที่เป่ามีความสม่ำเสมอโดยการเป่าออกเสียงให้ตำแหน่งลิ้นเหมือนพูดคำว่า ทู “Too” และใช้ลมเป่า พอประมาณ ไม่เป่าด้วยลมที่แรงหรือลมที่เบาเกินไป ซึ่งพอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. วางตำแหน่งนิ้วให้ถูกต้อง ประคองขลุ่ยให้ทำมุมกับลำตัวเป็นมุม 45 องศา
2.ใช้มือซ้ายวางนิ้วอยู่ส่วนบนของขลุ่ย และมือขวาวางนิ้วอยู่ส่วนล่างของขลุ่ย
3.วางปากขลุ่ยระหว่างริมฝีปากบนและล่าง เม้มริมฝีปากอมปากขลุ่ยเล็กน้อย
4.ขณะที่เป่าโน้ตพยายามปิด รู ให้สนิท ยกนิ้วขึ้นลงอย่างรวดเร็ว
ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง
5.อย่ากัดปากขลุ่ย ( Mouth piece ) ขณะที่เป่า
6.ควบคุมลมหายใจ อย่าเป่าลมแรงเกินไปเพราะจะทำให้เสียงเพี้ยน (ผิด) จงจำไว้ว่า เสียงที่ถูกต้องจะต้องเกิดจากการเป่า และพยายามสังเกตด้วยว่าเวลาเป่าเสียงต่ำ ควรจะเป่าลมเบา ๆ เสียงสูงควรจะเป่าลมแรง ๆ ตามระดับตัวโน้ต
7.ควรสังเกตในการวางท่าในการเป่า ทั้งยืนและนั่ง ให้สง่างาม หลังตรง เพราะจะช่วยในการควบคุมลมที่เป่าได้ด้วย
8.ควรฝึกเป่าขลุ่ยเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์
หลังจากการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์แล้ว ผู้เป่าควรปฏิบัติดังนี้
1.นำขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นที่ผสมสบู่อ่อน ๆ ทุกครั้งหลังการใช้งาน
2.การประกอบหรือถอดขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ควรถอดข้อต่อด้วยการค่อย ๆ หมุนออกตามแนวเข็มนาฬิกา ท่อนส่วนหัว(Head Joint) ที่ล้างสะอาดแล้ว ควรเช็ดด้วยผ้านุ่ม ๆ ที่สะอาด
ห้ามใช้การสะบัดให้แห้ง เพราะขลุ่ยรีคอร์เดอร์อาจแยกหลุดออกจากกัน หรือหล่นแตกได้ง่าย
3. การทำความสะอาดส่วนกลาง (Middle Joint) และส่วนท้าย (Foot Joint) โดยวิธีใช้
ผ้านุ่มที่สะอาดเช็ด และการถอดข้อต่อออกจากกัน อาจใช้ไม้หรือแท่งพลาสติกทำความสะอาด โดยสอดผ้าเข้าไปเช็ดข้างในตัวขลุ่ยให้สะอาด
4.เมื่อเห็นว่าแห้งที่แล้ว ควรทาวาสลินที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการประกอบเข้าด้วยกัน และไม่แน่นเกินไปเมื่อจะถอดออกมาทำความสะอาดในครั้งต่อไป
5.ควรเก็บใส่ซองเก็บ หรือกล่องที่ติดมากับตัวเครื่อง เพื่อความเป็นระเบียบ ฝุ่นไม่เกาะ เล้วนำไปเก็บในตู้ หรือบริเวณที่เก็บเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย
ประโยชน์ของการดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์
เครื่องดนตรีสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อผู้เป่า
เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องดนตรี
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การปฏิบัติขุล่ยรีคอร์เดอร์ตอนที่ 1

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องดนตรีสากลจัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ปัจจุบันนิยมทำด้วยพลาสติกสีขาว ทำให้เกิดเสียงได้โดยการเป่าลมเข้าไปยังปากที่รูของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่ว ๆ ไป ราคาไม่แพงมากนัก จะอยู่ประมาณ 25 - 100 บาท แล้วแต่ยี่ห้อและประเภท แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปราคาไม่แพงคือ ยี่ห้อ King

รูปร่างลักษณะของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

ลักษณะทั่วไปแบ่งเป็น ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้าย ลักษณะทั่วไปด้านหน้ามี 7 รู รูที่ 6 และ 7 แบ่งเป็น 2 รูเล็กๆ ด้านหลังมี 1 รู (ดูรูปภาพประกอบ)

ภาพที่ 1 แสดงส่วนประกอบของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

วิธีการดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์

การดูแลรักษาและทำความสะอาดขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ถูกต้อง จะช่วยให้อายุการใช้งานขลุ่ยรีคอร์เดอร์ได้นานขึ้น ผู้เล่นควรดูแลรักษาดังนี้ คือ

1. หลังจากเลิกปฏิบัติแล้วให้ถอดข้อต่อของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ออกจากกันเป็น 3 ท่อน (ห้ามสะบัดเพื่อเอาน้ำลายออกเพราะอาจทำให้ส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนหลุดออกจากกันและหล่นแตกได้) จากนั้นให้นำแต่ละส่วนไปล้างด้วยน้ำอุ่นผสมด้วยสบู่อ่อน ๆ หรือล้างด้วยน้ำสะอาด

2. ใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ อาจใช้ผ้าคลุมไม้สอดเข้าไป ในขลุ่ยรีคอร์เดอร์เพื่อทำความสะอาดขลุ่ยรีคอร์เดอร์

3. เมื่อเช็ดจนแห้งดีแล้ว ควรใช้วาสลินทาตรงบริเวณข้อต่อ เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบเข้าและถอดออก

4. ควรเก็บใส่ซองหรือกล่องที่ติดมากับตัวเครื่องให้เป็นระเบียบ และจัดเก็บวางไว้ในบริเวณที่ไม่ตกหล่น

5. ไม่ควรใช้ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ร่วมกับผู้อื่น

ตำแหน่งนิ้วและตำแหน่งเสียงของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

1. การจับขลุ่ยรีคอร์เดอร์

1.1 มือขวาอยู่ด้านล่าง โดยให้นิ้วก้อยอยู่ตำแหน่งรูปิดหมายเลข 1 นิ้วนางรูปิดหมายเลข 2 นิ้วกลางรูปิดหมายเลข 3 และนิ้วชี้รูปิดหมายเลข 4 ส่วนนิ้วหัวแม่มือให้จับอยู่ด้านล่างเพื่อประคองขลุ่ยรีคอร์เดอร์ไว้ไม่ให้ตกหล่น

1.2 มือซ้ายอยู่ด้านบนของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ด้านปากเป่า โดยให้นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือปิดที่รูปิดหมายเลข 5, 6, 7 และ 8 ตามลำดับ (ดูภาพประกอบ)


ภาพที่ 2 แสดงตำแหน่งการวางนิ้วของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

มือซ้าย
มือขวา
นิ้วหัวแม่มือ
นิ้วชี้
นิ้วกลาง
นิ้วนาง
ชี้
กลาง
นาง
ก้อย
8
7
6
5
4
3
2
1


ประเด็นคำถาม
1. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทใด ?
2. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ทำให้เกิดเสียงโดยวิธีใด ?
3. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนิยมทำมาจากวัสดุใด ?

4. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์มีส่วนประกอบกี่ส่วน อะไรบ้าง ?
5. การจับขลุ่ยรีคอร์เดอร์เอามือซ้ายหรือมือขวาอยู่ด้านบน ?
6. เพราะเหตุใดจึงไม่ควรใช้ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ร่วมกัน ?

กิจกรรมเสนอแนะ
1. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีที่หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง นักเรียนควรมีไว้เป็นของตนเองและฝึกหัดเป่าเล่นในยามว่าง หากนักเรียนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ได้แล้วก็มีพื้นฐานที่สามารถจะเล่นเครื่องดนตรีสากลเครื่องเป่าลมไม้ประเภทอื่น ๆ ได้
2. ควรศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่น เช่น ที่ www.google.co.th ที่เว็บ ครูดนตรีดอทอินโฟร์ ครูดนตรีทูป

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาละวัฒนธรรม : ความเป็นผู้มีจิตใจละเอียดอ่อน
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : ทักษะการฟัง, ทักษะการเขียน
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ : ทักษะการจำ, ทักษะการจำแนก
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา : การพัฒนาตน การพัฒนาบุคลิกภาพ

 

การเป่าเสียงซอล (G)

ตำแหน่งนิ้วของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับมือซ้าย (มือบน)
เสียง "ซอล" (G)

การปิด-เปิดรูขลุ่ยรีคอร์เดอร์โดยใช้มือซ้าย ทำให้เกิดเสียง 4 เสียงคือ เสียงซอล ลา ที และ โดสูง

ตำแหน่งเสียง ซอล (G)



 
ตำแหน่งเสียง ซอล (G)
ให้ลองฝึกเป่าและกดเสียงให้ถูกต้องตามตำแหน่งเสียงของตัวโน้ตเสียง "ซอล" เมื่อฝึกเป่าและจำตำแหน่งเสียงของตัวโน้ตได้แล้วให้ฝึกเป่าตามบทฝึกต่อไปนี้
แบบฝึกหัดการเป่าเสียง ซอล
1. เวลาเป่าให้เป่าโดยเปล่งคำว่า ตู ในขณะเป่า

2. ฝึกอ่านโน้ตและเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแบบฝึก พร้อมกับเคาะเท้ากำกับจังหวะให้ถูกต้อง ดังนี้
 
3. เครื่องหมาย หมายถึงปิดรูขลุ่ยรีคอร์เดอร์ เครื่องหมาย หมายถึง เปิดรูขลุ่ยรีคอร์เดอร์
4. เครื่องหมาย หายใจเข้าให้เร็วและอย่าให้เสียจังหวะ
5. ให้แยกฝึกปฏิบัติเป็นรายบุคคลให้คล่องและชำนาญ
6. พยายามฝึกช้าๆ ควบคุมจังหวะให้สม่ำเสมอ อย่าเร่งจังหวะ
7. เวลาฝึกหัดให้ท่องโน้ตในใจตามไปด้วย ช่วยทำให้จำได้เร็วขึ้น
 
 
 
 
 
 

4 ความคิดเห็น:

  1. มั่วเกินไปอ่านแล้วตาลายมาก

    ตอบลบ
  2. มันมีจุดข้างบน และมีเครื่องหมาย # ^ - _ คืออะไรช่วยบอกหน่อยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. # เครื่องหมาย ชาร์ป ทำให้โน้ตเสียงนั้น เพิ่มขึ้น ครึ่งเสียง (ระบบนิ้วเปลี่ยนวิธีกด)
      b เครื่องหมาย แฟล็ต ทำให้โน้ตเสียงนั้น ลดลง ครึ่งเสียง (ระบบนิ้วเปลี่ยนวิธีกด)
      ^ เครื่องหมาย เน้นเสียง

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2566 เวลา 22:14

    มีมากกว่านี้มั้ยครับ

    ตอบลบ