วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ศัพท์สังคีต


ศัพท์สังคีต
โดย
คุณครูอิสรินทร์ ทาส่วย
โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล
 
 
 
ศัพท์สังคีตสากล
ศัพท์สังคีต คือ คำอิตาเลี่ยนที่บัญญัติขึ้นใช้บันทึกไว้เหนือโน้ตตอนใดตอนหนึ่งหรือตัวใดตัวหนึ่งเพื่อบอกความหมาย ให้ผู้บรรเลงปฏิบัติตามศัพท์สังคีตหรือมิวสิคอล เทอมช์ (Terms used in music) ที่ใช้มาก มีดังนี้
ศัพท์สังคีตที่ใช้บ่งบอกอัตราความช้าเร็วของการเคาะจังหวะ (Tempo)
ศัพท์
ความหมายของศัพท์
Grave
Lento
Largo
Largamente
Larghetto
Adagio
Andante
Andatino
Moderato
Allegretto
Allegro
Vivo, Vivace
Presto
Prestissimo
Tempo di marcia
Tempo comodo
Tempo ordinario
M.M. = 100
ช้ามากที่สุด ช้างอย่างโศรกเศร้า
ช้ามาก
ช้าอย่างสง่างาม
ช้าอย่างสง่างาม
ช้า (น้อยกว่า Largamente)ช้าตามสบาย
ช้าพอประมาณ เท่าจังหวะก้าวเดิน
ช้าน้อยกว่า Andante
ปานกลาง
ค่อนข้างเร็ว
เร็วมีชีวิต
เร็ว มีชีวิตชีวา
เร็วมาก
เร็วเท่าที่จะเร็วได้
เร็วเท่าเดินแถว
จังหวะตามสบาย
เร็วปานกลาง
ใน 1 นาทีตั้งเมโทรนอมให้เคาะได้ 100 เคาะ
ศัพท์สังคีตที่ใช้บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงอัตราความเร็วช้าของจังหวะ
ศัพท์
ความหมายของศัพท์
Accelerado (accel.)
Ritardando (ritard.)
Rallentando (rall.)
Ritenuto (rit.)
Ad libitum (ad lib.)
A tempo, Tempo
Allargando
Calando
Stretto
Stringendo
Tempo rubato
Tempo primo
Tempo giusto
Doppio movimento
ให้ค่อยๆ เร่งจังหวะ
บอกให้ค่อยๆ ผ่อนจังหวะ
บอกให้ค่อยๆ ผ่อนจังหวะ
บอกให้ค่อยๆ ผ่อนจังหวะ
ให้เล่นได้ตามความพอใจ (อยู่ใน key นั้นๆ ตามกำหนดห้อง)
ให้กลับไปใช้ความเร็วจังหวะอัตราเดิม
บอกให้เพิ่มความเร็วและดัง
บอกให้ค่อยๆ เพิ่มความเร็วและความดัง
บอกให้เพิ่มความเร็ว
ให้เพิ่มความเร็ว
อนุญาตให้ผู้บรรเลงยืดหดอัตราของตัวโน้ตได้
ให้กลับไปใช้อัตราจังหวะเดิม
ให้ควบคุมอัตราจังหวะอย่างเคร่งครัด
บอกให้ทำความเร็วเป็น 2 เท่า
ศัพท์สังคีตที่ใช้บ่งบอกความแตกต่างของดีกรีความดังเบาและความเข้มของเสียง
ศัพท์
ความหมายของศัพท์
Crescendo (cres.)
Decrescendo (decres.)
Diminuendo (dim.)
Forte (f)
Fortissimmo (ff)
Mezzo forte (mf)
Mezzo piano (mp)
Piano (p)
Pianissimo (pp)
Forte - piano (fp)
Canlando
Mancando
Morendo
Perdendosi
Smorzando
Sforzando
Forzato
ให้เร่งเสียงดังขึ้นเป็นลำดับ
ให้ผ่อนเสียงเบาลงเป็นลำดับ
ให้ทำเสียงเบาลงกว่าเดิม
ให้ทำเสียงดัง
ให้ทำเสียงดังมาก
ให้ทำเสียงดังพอปานกลาง
ให้ทำเสียงเบาพอปานกลาง
ให้ทำเสียงเบา
ให้ทำเสียงเบามาก
ให้ทำเสียงเน้นและห้วน
ให้ค่อยๆ ทำเสียงเบาและช้าลง
ให้ทำเสียงแผ่วหาย
ให้ทำเสียงแผ่วหาย
ให้ทำเสียงแผ่วหาย
ให้ทำเสียงแผ่วหาย
ให้เน้นเสียงอย่างฉับพลัน
ให้เน้นเสียงอย่างฉับพลัน
ศัพท์สังคีตที่ใช้บ่งบอกลักษณะอาการบรรเลง
ศัพท์
ความหมายของศัพท์
A cappella
Affettuoso
Agitato
Amabile
Amoroso
Animato
Appassionato
Attacca
Brillante
Catabile
Cantando
Colla voce
Con brio
Con forza
Con grazia
Con moto
Da capo al fine
Dal segno (D.$ )
Dolce
Dolente
Espressivo
Furioso
Giocoso
Grazioso
Legato
Leggiero
Lusingando
Maestoso
Mesto
Parlando
Pesante
Piacevole
Piangevole
Poi La Coda
Pomposo
Portamento
Risoluto
Scherzando
Scherzoso
Soave
Sostenuto
Sotto voce
Staccato
Strepitoso
Tacet
Tenuta
Tranquillo
Volti subito (v.s.)
ให้ทำเหมือนขับร้องเพลงในโบสถ์
ให้ทำเสียงอ่อนโยนนุ่มนวล
ให้ทำเสียงเร่งเร้าปั่นป่วน
ให้ทำเสียงสุภาพอ่อนโยน
ให้ทำเสียงนุ่มนวล
บอกให้ทำเสียงอย่างมีชีวิตจิตใจ
ให้ใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไปด้วย
ให้ดำเนินต่อไปอย่างทันทีทันใดให้ทำเสียงกระจ่างแจ่มใส
ให้เปล่งเสียงออกมาอย่างเด่นชัดเหมือนร้องเพลง
บอกให้เปล่งเสียงอย่างเด่นชัดเหมือนขับร้องเพลง
ให้ทำตามแนวบรรเลงเดี่ยวอย่างใกล้ชิด
ให้ทำเสียงกระปรี้ประเปร่าแข็งขัน
ให้ทำเสียงดังมีพลัง
ให้ทำเสียงสง่างามและประณีต
ให้ทำเสียงเคลื่อนไหว
ให้เล่นซ้ำจากต้นแล้วจบลงที่คำว่า "fine"
บอกให้ย้อนกลับไปบรรเลงมาจากเครื่องหมาย
บอกให้ทำเสียงหวาน นุ่มนวล และแผ่วเบา
บอกให้ทำเสียงเศร้า
แสดงออกอย่างเต็มที่
ให้บรรเลงอย่างรุนแรง
ให้บรรเลงอย่างร่าเริงตลกคะนอง
ให้ทำเสียงสง่างาม
ให้ทำเสียงเลื่อนไหลอย่างต่อเนื่อง
ให้ทำเสียงเบา
ทำเสียงปลอบโยน
ทำเสียงองอาจเกรียงไกร
ให้ทำเสียงเศร้าสร้อย
ให้ทำเสียงเหมือนพูด
ทำเสียงหนักหน่วง
ทำเสียงน่าชื่นชมยินดี
ให้ทำเสียงเศร้า
ให้ลงลูกหมดหรือโคดาบอกให้ทำเสียงองอาจผึ่งผาย
บอกให้เอื้อนเสียงตลอดวลี
ให้บรรเลงอย่างตั้งใจ
ให้ทำเสียงที่มีท่วงทีสนุกสนาน
ทำเสียงที่มีท่วงทีสนุกสนาน
ให้ทำเสียงอ่อนหวานและลื่นไหล
ให้หน่วงเสียงไว้
ให้ทำเสียงเบา
ให้ทำเสียงสั้นๆ ห้วนๆ
ให้ทำเสียงดังๆ
บอกให้เงียบ
ให้หน่วงเสียงไว้
ให้ทำเสียงเยือกเย็น
ให้พลิกไปหน้าหลังอย่างรวดเร็ว
ศัพท์สังคีตที่เกี่ยวกับการบรรเลงเครื่องดนตรี
ศัพท์
ความหมายของศัพท์ก. เกี่ยวข้องกับการบรรเลงเปียโน

Una corda
Tre corde
Pedale (Ped.)
Mano destra (M.D.)
Main gauche (M.G.)
Mano sinistra (M.S.)
ให้เหยียบกระเดื่องทำเสียงเบา
ให้ปล่อยกระเดื่องที่ทำเสียงเบา
ให้เหยียบกระเดื่องที่ทำเสียงดังกังวาน
ให้ใช้มือขวา
ให้ใช้มือซ้าย
ให้ใช้มือซ้าย

ข. เกี่ยวข้องกับการบรรเลงไวโอลิน
ศัพท์
ความหมายของศัพท์
Pizzicato (pizz.)
Arco
Con sordino
Senza sordino
Sul ponticello
Sul G
Uหรือว
v
ให้ใช้นิ้วมือดีดแทนสีด้วยคันชัก
บอกให้กลับมาใช้คันชักสีอีกหลังจากที่ดีดด้วยนิ้วมือ
ให้สิ่มิวท์ซึ่งเป็นอุปกณ์ผ่อนเสียง
ให้เลิกใส่มิวท์
ให้ใช้คันชักชีใกล้ๆ กับหย่อง
ให้สีสาย G เท่านั้น
 
ศัพท์สังคีต ดนตรีไทย
กรอ
วิธีการบรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง ที่ทำให้เกิดเสียงต่อเนื่องกัน
เป็นเสียงยาวสม่ำเสมอ โดยใช้ 2 มือตีสลับกันถี่ๆ เหมือนรัวเสียงเดียว แต่ทั้งสองมือมิได้
้ตีอยู่ที่เดียวกัน มักจะตีเป็นคู่ 2 คู่ 3 คู่ 4 คู่ 5 คู่ 6 และคู่ 8
เก็บ
วิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์
ถี่ขึ้นมากกว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา การบรรเลง เก็บนี้ ส่วนมากใช้กับทำนองเพลง
พื้นๆทั่วไป เช่น เพลงลมพัดชายเขา เพลงจระเข้หางยาว เรียกว่าทางเก็บ ส่วนเพลงบังคับทางส่วนมากเป็นทางกรอ เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงโสมส่องแสง มักไม่ค่อยมีการเก็บ
ตัวอย่างการบรรเลงเก็บ
(โน้ตเพลงธรรมดา)
-ซ-ม
-ร-ด
- - -
- - -
-ซ-ล
-ซ-ม
- - -
- - -
(โน้ตเพลงทางเก็บ)
ซลซม
ซมรด
ซลทด
ทดรม
รมซล
ดลซม
ซลซม
ซมรด
ขยี้
เป็นการบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้น ไปจาก เก็บอีก 1 เท่า
อีก 1 เท่า ถ้าจะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ 2/4 ก็จะเป็นจังหวะละ 8 ตัว ห้องละ 16 ตัว (เขบ็ด 3 ชั้นทั้ง 16 ตัว)
อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่าขยี้นี้ จะบรรเลงตลอดทั้งประโยคของเพลง หรือ จะบรรเลงสั้นยาวเพียงใดแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควร วิธีบรรเลงอย่างนี้บางท่านก็ เรียกว่า เก็บ 6 ชั้นซึ่งถ้าจะพิจารณาถึงหลักการกำหนดอัตรา(สองชั้น สามชั้น) แล้ว คำว่า 6 ชั้น ดูจะไม่ถูกต้อง
คร่อม
การบรรเลงทำนองหรือบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ หรือร้องดำเนินไปโดยไม่ตรง
กับจังหวะที่ถูกต้อง เสียงที่ควรจะตกลงตรงจังหวะกลายเป็นตกลงในระหว่างจังหวะ ซึ่งกระทำไปโดยไม่มีเจตนา และถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด เรียกอย่างเต็มว่าคร่อมจังหวะ
เดี่ยว
เป็นวิธีการบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีจำพวกดำเนินทำนอง เช่น ระนาด ฆ้องวง
จะเข้ ซอ บรรเลงแต่อย่างเดียว การบรรเลงเครื่องดำเนินทำนองเพียงคนเดียว
ที่เรียกว่า เดี่ยวนี้ อาจมีเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง โทน รำมะนา
สองหน้า หรือกลองแขก บรรเลงไปด้วยก็ได้ การบรรเลงเดี่ยวอาจบรรเลงตลอดทั้งเพลง
หรือแทรกอยู่ในเพลงใดเพลงหนึ่งเป็นบางตอนก็ได้
อธิบาย : การบรรเลงเดี่ยวมีความประสงค์อยู่ 3 ประการ คือ
1. เพื่ออวดทาง คือ วิธีดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีชนิดนั้น
2. เพื่ออวดความแม่นยำ
3. เพื่ออวดฝีมือ
เพราะฉะนั้นการบรรเลงที่เรียกได้ว่าเดี่ยว จึงมิใช่จะหมายความแคบๆ เพียงบรรเลง
คนเดียวเท่านั้น ที่จะเรียกว่าเดี่ยวได้โดยแท้จริงนั้น ทาง(การดำเนินทำนอง) ก็ควรจะให้
เหมาะสมกับที่จะบรรเลงเดี่ยว เช่น มีโอดพันหรือวิธีการโลดโผนพลิกแพลง ต่างๆ
ตามสมควรแก่เครื่องดนตรีชนิดนั้นด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้ง 3 ประการที่
กล่าวมา
ท่อน
คือ กำหนดส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งๆ ซึ่งแบ่งออกจากเพลง
อธิบาย : โดยปกติเมื่อบรรเลงเพลงใดก็ตาม หากจบท่อนหนึ่งๆ แล้วมักจะกลับต้น
บรรเลงซ้ำท่อนนั้นอีกครั้งหนึ่ง ที่กล่าวนี้มิใช่ว่าเพลงทุกเพลงจะต้องมีหลายๆท่อนเสมอไป
บางเพลงอาจมีท่อนเดียวจบ หรือหลายๆท่อนจึงจบก็ได้
ทาง
คำนี้มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประการ คือ
1.ทาง หมายถึง วิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทาง
ระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม และทางซอ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีวิธีดำเนินทำนองของตน
แตกต่างกัน
2.ทาง หมายถึง วิธีดำเนินทำนองของเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางของครู ก.
ครู ข. หรือทางเดี่ยวและทางหมู่ ซึ่งแม้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีก็ดำเนินทำนองไม่
เหมือนกัน
3.ทาง หมายถึง ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลง (Key) ซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่หมายรู้
กันทุกๆเสียง เช่น ทางเพียงออล่างหรือทางในลด ทางกรวดหรือทางนอก เป็นต้น
เท่า
บางทีก็เรียกว่า ลูกเท่าเป็นทำนองเพลงพิเศษตอนหนึ่ง ซึ่งไม่มีความหมาย
ในตัวอย่างใด หากแต่มีความประสงค์อยู่อย่างเดียวเพียงให้ทำนองนั้นยืนอยู่ ณ เสียงใด
เสียงหนึ่ง แต่เพียงเสียงเดียว เท่า หรือ ลูกเท่า นี้จะต้องอยู่ในกำหนดบังคับของจังหวะ
หน้าทับ โดยมี ความยาวเพียงครึ่งจังหวะหน้าทับเท่านั้น (นอกจากในเพลงเรื่องบาง
เพลง เท่าอาจยาวเป็นพิเศษถึงเต็มจังหวะก็ได้) และโดยปกติมีแทรกอยู่ในเพลงประเภท
หน้าทับปรบไก่ ประโยชน์ของ เท่านี้ มีไว้เพื่อใช้แทรกในระหว่างประโยควรรคตอนของ
ทำนองเพลง เพื่อเชื่อมให้ประโยคหรือวรรคตอนของเพลงติดต่อกัน สนิทสนมหรือเพิ่ม
ให้ครบถ้วนจังหวะหน้าทับ เทียบได้กับคำสันธานที่ใช้ในทางอักษรศาสตร์
รัว
วิธีการบรรเลงที่ทำเสียงหลายๆพยางค์ให้สั้นและถี่ที่สุด ถ้าเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด
เช่น จะเข้ ก็ใช้ไม้ดีด ดีดเข้าออกสลับกันเร็วๆ ที่เรียกว่า รัวไม้ดีดเครื่องดนตรี
ประเภทสี เช่น ซอ ก็ใช้คันชักสีเข้าออกสั้นๆเร็วๆ ที่เรียกว่า รัวคันชักเครื่องดนตรี
ประเภทเป่า เช่น ขลุ่ย ก็รัวด้วยนิ้วปิดเปิดให้ถี่และเร็วที่สุด ที่เรียกว่า รัวนิ้วเครื่อง
ดนตรีประเภทตี เช่น ระนาดเอก ก็ใช้ตีสลับกัน 2 มือ
วิธีรัวของเครื่องดนตรีประเภทตีแยกออกได้เป็น 2 อย่าง คือ รัวเสียงเดียวและรัว
เป็นทำนอง
ล้วง
ได้แก่ การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเพิ่มทำนองบรรเลง
ล้ำเข้ามาก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปกติ
อธิบาย : วิธีการอย่างนี้มักจะมีในตอนที่บรรเลงลูกล้อลูกขัด หรือเวลาที่จะรับ
จากร้อง คือก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปกติของตน ก็หาทำนองอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรเลงขึ้นมาก่อนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะจบ
ล่อน
ได้แก่ การปฏิบัติในวิธีที่เรียกว่า สะบัด ขยี้ รัว หรือกวาด ได้ชัดเจนทุกเสียง
ไม่กล้อมแกล้มหรือกระทบเสียงอื่นที่ไม่ต้องการ เหมือนกับผลเงาะที่แกะเนื้อออกไม่มี
ติดเมล็ดเลย เราก็เรียกว่า ล่อน
ลูกขัด
เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น 2 พวก
พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง (บรรเลงที่หลัง)
ทั้งสองพวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว
พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง แต่ที่จะเรียกได้ว่า ลูกขัดนี้ เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็น
ทำนองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทำนองให้ผิดแผกแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งไม่เหมือนกับทำนองของพวกหน้า ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว
เท่าใด ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้นอย่างสั้นที่สุดอาจผลัดกันทำเพียงพวกละพยางค์
เดียวก็ได้
อธิบาย : ถ้าจะเปรียบเทียบคำว่า ลูกขัดกับลูกล้อให้เข้าใจง่าย จงจำไว้
ว่า ถ้าพวกหลังบรรเลงไม่เหมือนพวกหน้าก็เป็นลูกขัด หากพวกหลังบรรเลงเหมือนกับ
พวกหน้าก็เป็นลูกล้อ เช่นเดียวกับคำพูดของคนสองคน คนแรกพูดอย่างหนึ่ง อีกคนพูด
ไปเสียอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน ก็เรียกว่าพูดขัดหรือขัดคอ ซึ่งตรงกับลูกขัด
ถ้าคนแรกพูดอย่างใด อีกคนก็พูดเหมือนอย่างนั้น ก็เรียกว่าเลียน หรือ ล้อ หรือ ล้อเลียน ซึ่งตรงกับ ลูกล้อ
ลูกล้อ
เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี(หรือร้อง) ออกเป็น 2 พวก
พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง ทั้งสองพวกนี้ ผลัดกัน
บรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ง พวกหลังก็จะบรรเลงบ้าง
(เช่นเดียวกับคำว่าลูกขัดที่กล่าวมาแล้ว) แต่ที่จะเรียกได้ว่า ลูกล้อนี้ เมื่อพวกหน้า
บรรเลงไปเป็นทำนองอย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทำนองซ้ำอย่างเดียวกันกับพวก
หน้า และทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ ก็แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น จะสั้นยาวเท่าใด
หรือเพียงพยางค์เดียวก็ได้
ลูกหมด
เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงสั้นๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะหน้าทับ
สองไม้ชั้นเดียวหรือครึ่งชั้น สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่างๆ เพื่อแสดงว่า จบ (หมด)
สวม
ได้แก่ การบรรเลงซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีทั้งวงหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว
ได้บรรเลงเหลื่อมล้ำเข้ามาในตอนท้ายท่อนจบของผู้อื่นที่จะต้องบรรเลงติดต่อ เพื่อความ
สนิทสนมกลมกลืนกัน
อธิบาย : การบรรเลงเพลงสวมนี้ ที่ปฏิบัติกันเป็นปกติก็คือเวลาร้องก่อนจะจบ
ดนตรีก็บรรเลงสวมตอนท้ายเข้ามา หรือระหว่างเครื่องดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวด้วยกัน
เครื่องดนตรีที่จะบรรเลงต่อ ก็บรรเลงสวมตอนท้ายก่อนจะจบของเครื่องที่บรรเลงก่อน
เช่นเดียวกับการต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ต้องสวมหรือเข้าปากประกบเชื่อมกันให้สนิท
ส่ง
แยกออกได้เป็น 2 อย่าง ก. เป็นการบรรเลงนำทางให้คนร้องที่จะร้องต่อไปได้
สะดวกและถูกต้อง เหมือนกับผู้ที่จะพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ต้องส่งหน้าที่และแนะนำให้ผู้ที่
จะรับตำแหน่งต่อไปได้ทราบแนวทาง เพื่อประโยชน์และความเรียบร้อยของส่วนรวม
การบรรเลงนำให้คนร้องนี้ เรียกเต็มๆว่า ส่งหางเสียงข. การร้องที่มีดนตรีรับก็เรียกว่า
ส่งเหมือนกัน แต่ก็มักจะเรียกว่า ร้องส่ง
สะบัด
ได้แก่การบรรเลงที่แทรกเสียงเข้ามาในเวลาบรรเลงทำนองเก็บอีก 1 พยางค์
ซึ่งแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควรว่าจะแทรกตรงไหน ทำนองตรงที่แทรกนั้นก็เรียกว่า
สะบัด
อธิบาย : การแทรกเสียงที่จะให้เป็นสะบัด ต้องแทรกเสียงเพียงแห่งละพยางค์เดียว
ถ้าแทรกเป็นพรืดไปก็กลายเป็น ขยี้
 
 

 
 

1 ความคิดเห็น: